กรรมวาจาสมมติเจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์
ทรงบัญญัติว่า ในเบื้องต้นต้องขอร้องภิกษุ
จากนั้นภิกษุ ผู้ฉลาดสามารถจึงสวดประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย ญัตติทุติยกรรมวาจา ///// ตามแต่ละหน้าที่ดังนี้
* * * กรรมวาจาสมมติเจ้าหน้าที่แจกจีวร
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ , ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง , สังโฆ อิตถันนามัง ภิกขุง จีวะระภาชะกัง สัมมันเนยยะ , เอสา ญัตติ
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ , สังโฆ อิตถันนามัง ภิกขุง จีวะระภาชะกัง
สัมมันนะติ , ยัสสายัส๎มะโต ขะมะติ อิตถันนามัสสะ ภิกขุโน จีวะระภาชะกัสสะ สัมมะติ โส ตุณ๎หัสสะ ยัสสะ นักขะมะติ โส ภาเสยยะ
สัมมะโต สังเฆนะ อิตถันนาโม ภิกขุ จีวะระภาชะโก ขะมะติ สังฆัสสะ , ตัส๎มา ตุณ๎หี , เอวะเมตัง ธาระยาม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ขอสงฆ์จงสมมติภิกษุมีชื่ออย่างนี้ไว้เป็นผู้แจกจีวร
นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็นผู้แจกจีวร การสมมติภิกษุมีชื่ออย่างนี้เป็นผู้แจกจีวร ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง
ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติไว้เป็นผู้แจกจีวรแล้ว การสมมติชอบแก่สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้
หมายเหตุ
- ถ้าภิกษุผู้รับสมมติชื่อว่า “อาสะโภ” พึงเปลี่ยนคำว่า อิตถันนามัง เป็น อาสะภัง , อิตถันนามัสสะ เป็น อาสะภัสสะ , คำว่า อิตถันนาโม เป็น
อาสะโภ
- ถ้าผู้สวดอ่อนกว่าผู้รับสมมติ พึงเปลี่ยนคำว่า ภิกขุง เป็น อายัส๎มันตัง อาสะภัง , ภิกขุโน เป็น อายัส๎มะโต อาสะภัสสะ , ภิกขุ เป็น อายัส๎มา อาสะโภ
- การสมมติเจ้าหน้าที่แบบอื่นๆ พึงเปลี่ยนแต่คำว่า จีวะระภาชะกัง , จีวะระภาชะกัสสะ , จีวะระภาชะโก
เป็นคำต่างๆ ตามลำดับดังนี้
ผู้รับจีวร เป็น จีวะระปะฏิคคาหะกัง , จีวะระปะฏิคคาหะกัสสะ , จีวะระปะฏิคคาหะโก
ผู้เก็บจีวร เปลี่ยนเป็น จีวะระนิทาหะกัง , จีวะระนิทาหะกัสสะ , จีวะระนิทาหะโก
* * * กรรมวาจาสมมติเจ้าหน้าที่รับจีวร แจกจีวร เก็บจีวร
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ , ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง , สังโฆ อิตถันนามัง ภิกขุง จีวะระปะฏิคคาหะกัญจะ จีวะระนิทาหะกัญจะ จีวะระภาชะกัญจะ
สัมมันเนยยะ, เอสา ญัตติ
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ , อิตถันนามัง ภิกขุง จีวะระปะฏิคคาหะกัญจะ จีวะระนิทาหะกัญจะ จีวะระภาชะกัญจะ สัมมันนะติ , ยัสสายัส๎มะโต ขะมะติ อิตถันนามัสสะ ภิกขุโน จีวะระปะฏิคคาหะกัสสะ จะ จีวะระนิทาหะกัสสะ จะ จีวะระภาชะกัสสะ จะ สัมมะติ, โส ตุณ๎หัสสะ ยัสสะ นักขะมะติ โส ภาเสยยะ
สัมมะโต สังเฆนะ อิตถันนาโม ภิกขุ จีวะระปะฏิคคาหะโก จะ จีวะระนิทาหะโก จะ จีวะระภาชะโก. ขะมะติ สังฆัสสะ , ตัส๎มา ตุณ๎หี , เอวะเมตัง ธาระยามิ
ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ขอสงฆ์จงสมมติภิกษุมีชื่ออย่างนี้ไว้เป็นผู้รับจีวร ผู้เก็บจีวร ผู้แจกจีวร
นี้เป็นญัตติ
ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่ออย่างนี้ไว้เป็นผู้รับจีวร ผู้เก็บจีวร ผู้แจกจีวร การสมมติภิกษุมีชื่ออย่างนี้เป็นผู้รับจีวร ผู้เก็บจีวร ผู้แจกจีวร ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง
ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ภิกษุมีชื่ออย่างนี้ สงฆ์สมมติไว้เป็นผู้รับจีวร ผู้เก็บจีวร ผู้แจกจีวรแล้ว การสมมติชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้
* * * กรรมวาจาสมมติภัตตุเทศก์
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ , ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง , สังโฆ อิตถันนามัง ภิกขุง ภัตตุทเทสะกัง สัมมันเนยยะ , เอสา ญัตติ
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ , สังโฆ อิตถันนามัง ภิกขุง ภัตตุทเทสะกัง สัมมันนะติ , ยัสสายัส๎มะโต ขะมะติ อิตถันนามัสสะ ภิกขุโน ภัตตุทเทสะกัสสะ สัมมะติ , โส ตุณ๎หัสสะ ยัสสะ นักขะมะติ โส ภาเสยยะ
สัมมะโต สังเฆนะ อิตถันนาโม ภิกขุ ภัตตุทเทสะโก ขะมะติ สังฆัสสะ , ตัส๎มา ตุณ๎หี , เอวะเมตัง ธาระยามิ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ขอสงฆ์จงสมมติภิกษุมีชื่ออย่างนี้ เป็น ภัตตุเทสก์ /////
นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่ออย่างนี้เป็นภัตตุเทสก์
การสมมติภิกษุมีชื่ออย่างนี้เป็นภัตตุเทสก์ ชอบแก่ท่านผู้ใดท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง
ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ภิกษุมีชื่ออย่างนี้ สงฆ์สมมติเป็นภัตตุเทสก์แล้ว การสมมติชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้
* * * กรรมวาจาสมมติภัณฑาคาริก
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ , ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง , สังโฆ อิตถันนามัง ภิกขุง ภัณฑาคาริกัง สัมมันเนยยะ , เอสา ญัตติ
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ , สังโฆ อิตถันนามัง ภิกขุง ภัณฑาคาริกัง สัมมันนะติ , ยัสสายัส๎มะโต ขะมะติ อิตถันนามัสสะ ภิกขุโน ภัณฑาคาริกัสสะ สัมมะติ , โส ตุณ๎หัสสะ ยัสสะ นักขะมะติ โส ภาเสยยะ
สัมมะโต สังเฆนะ อิตถันนาโม ภิกขุ ภัณฑาคาริโก ขะมะติ สังฆัสสะ , ตัส๎มา ตุณ๎หี , เอวะเมตัง ธาระยามิ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้วสงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่ออย่างนี้ ให้เป็นเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลัง
นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่ออย่างนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลัง
การสมมติภิกษุมีชื่ออย่างนี้ ให้เป็นเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลังชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง
ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่ออย่างนี้ ให้เป็นเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลังแล้วชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้
* * * กรรมวาจาสมมติเรือนคลัง
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ , ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง , สังโฆ อิตถันนามัง วิหารัง ภัณฑาคารัง สัมมันเนยยะ เอสา ญัตติ
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ , สังโฆ อิตถันนามัง วิหารัง ภัณฑาคารัง สัมมันนะติ , ยัสสายัส๎มะโต ขะมะติ อิตถันนามัสสะ วิหารัสสะ ภัณฑาคารัสสะ สัมมะติ , โส ตุณ๎หัสสะ ยัสสะ นักขะมะติ โส ภาเสยยะ
สัมมะโต สังเฆนะ อิตถันนาโม วิหาโร ภัณฑาคาโร ขะมะติ สังฆัสสะ , ตัส๎มา ตุณ๎หี , เอวะเมตัง ธาระยามิ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ขอสงฆ์จงสมมติวิหารมีชื่ออย่างนี้ ให้เป็นเรือนคลัง
นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
สงฆ์สมมติวิหารมีชื่ออย่างนี้ให้เป็นเรือนคลัง
การสมมติวิหารมีชื่ออย่างนี้ ให้เป็นเรือนคลัง ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง
ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
สงฆ์สมมติวิหารมีชื่ออย่างนี้ ให้เป็นเรือนคลังแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้
* * * กรรมวาจาสมมติเจ้าหน้าที่ผู้แจกให้ภิกษุถือเสนาสนะ
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ , ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง , สังโฆ อิตถันนามัง ภิกขุง เสนาสะนะคาหาปะกัง สัมมันเนยยะ , เอสา ญัตติ
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, สังโฆ อิตถันนามัง ภิกขุง เสนาสะนะคาหาปะกัง สัมมันนะติ , ยัสสายัส๎มะโต ขะมะติ อิตถันนามัสสะ ภิกขุโน เสนาสะนะคาหาปะกัสสะ สัมมะติ , โส ตุณ๎หัสสะ ยัสสะ นักขะมะติ โสภาเสยยะ
สัมมะโต สังเฆนะ อิตถันนาโม ภิกขุ เสนาสะนะคาหาปะโก ขะมะติ สังฆัสสะ , ตัส๎มา ตุณ๎หี , เอวะเมตัง ธาระยามิ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ขอสงฆ์จงสมมติภิกษุมีชื่อนี้ เป็นผู้แจกให้ภิกษุถือ เสนาสนะ /////
นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ ให้เป็นผู้แจกให้ภิกษุถือเสนาสนะ
การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ เป็นผู้แจกให้ภิกษุถือเสนาสนะชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง
ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติเป็นผู้ให้ถือเสนาสนะแล้ว ชอบแก่สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้
* * * กรรมวาจาให้นวกรรม
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ , ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง , สังโฆ อิตถันนามัสสะ คะหะปะติโน วิหารัง อิตถันนามัสสะ ภิกขุโน นะวะกัมมัง ทะเทยยะ , เอสา ญัตติ
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ , สังโฆ อิตถันนามัสสะ คะหะปะติโน วิหารัง อิตถันนามัสสะ ภิกขุโน นะวะกัมมัง เทติ , ยัสสายัส๎มะโต ขะมะติ อิตถันนามัสสะ คะหะปะติโน วิหารัสสะ อิตถันนามัสสะ ภิกขุโน นะวะกัมมัสสะ ทานัง , โส ตุณ๎หัสสะ ยัสสะ นักขะมะติ โส ภาเสยยะ
ทินโน สังเฆนะ อิตถันนามัสสะ คะหะปะติโน วิหาโร อิตถันนามัสสะ ภิกขุโน นะวะกัมมัง ขะมะติ สังฆัสสะ , ตัส๎มา ตุณ๎หี , เอวะเมตัง ธาระยามิ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้วขอสงฆ์จงให้วิหารของคหบดีผู้มีชื่อนี้ เป็น นวกรรม ///// ของภิกษุมีชื่อนี้
นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
สงฆ์ให้วิหารของคหบดีผู้มีชื่อนี้เป็นนวกรรมของภิกษุมีชื่อนี้
การให้วิหารของคหบดีผู้มีชื่อนี้ เป็นนวกรรมของภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง
ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
วิหารของคฤหบดีผู้มีชื่อนี้ สงฆ์ให้เป็นนวกรรมของภิกษุมีชื่อนี้แล้วชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้
( คำว่า อิตถันนามัสสะ คะหะปะติโน พึงเปลี่ยนตามชื่อผู้สร้าง ดังนี้ เช่น สุทัตตัสสะ คะหะปะติโน , วิสาขายะ อุปาสิกายะ , สีหัสสะ กุมารัสสะ )
* * * กรรมวาจาสมมติกัปปิยภูมิ
ดูก่อนอานนท์ ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงสมมติวิหารที่ตั้งอยู่สุดเขตวัดให้เป็นสถานที่เก็บของ กัปปิยะ ///// แล้วให้เก็บไว้ในสถานที่ที่สงฆ์จำนงหมาย คือ วิหาร เรือนมุงแถบเดียว เรือนชั้น เรือนโล้น หรือถ้ำก็ได้
* * * วิธีสมมติกัปปิยภูมิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสมมติอย่างนี้
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ จึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้
* * * กรรมวาจาสมมติกัปปิยภูมิ
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ , ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง , สังโฆ อิตถันนามัง วิหารัง กัปปิยะภูมิง สัมมันเนยยะ เอสา ญัตติ
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ , สังโฆ อิตถันนามัง วิหารัง กัปปิยะภูมิง สัมมันนะติ , ยัสสายัส๎มะโต ขะมะติ อิตถันนามัสสะ วิหารัสสะ กัปปิยะภูมิยา สัมมะติ , โส ตุณ๎หัสสะ ยัสสะ นักขะมะติ โส ภาเสยยะ
สัมมะโต สังเฆนะ อิตถันนาโม วิหาโร กัปปิยะภูมิ ขะมะติ สังฆัสสะ , ตัส๎มา ตุณ๎หี , เอวะเมตัง ธาระยามิ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติวิหารมีชื่อนี้ ให้เป็นกัปปิยภูมิ
นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
สงฆ์สมมติวิหารมีชื่อนี้ ให้เป็นกัปปิยภูมิ
การสมมติวิหารมีชื่อนี้ให้เป็นกัปปิยภูมิ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง
ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
วิหารมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติให้เป็นกัปปิยภูมิแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้
* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก / หัวข้อใหญ่สุด : อริยวินัย ที่มาในพระไตรปิฎกเล่มอื่นๆ / หัวข้อย่อยรองลงมา : ภาคผนวก / หัวข้อย่อยรองลงมา : ภาคผนวก : กรรมวาจาสมมติเจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์
* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย / หน้าที่ : 1,050 , 1,051 , 1,052 , 1,053 , 1,054 , 1,055 , 1,056
- จบ -