อริยวินัย
ที่มาในพระไตรปิฎกเล่มอื่นๆ
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
* * * ภิกษุผู้สมาทานธุดงค์ * * * ( 1 )
- บาลี ปญฺจก. อํ. 22/245 - 246/181-190
( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 181 )
1. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร 5 จำพวกนี้ 5 จำพวกเป็นไฉน คือ
1. ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตรเพราะโง่เขลา เพราะหลงงมงาย
2. มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ จึงถืออยู่ป่าเป็นวัตร
3. ถืออยู่ป่าเป็นวัตรเพราะเป็นบ้า เพราะจิตฟุ้งซ่าน
4. ถืออยู่ป่าเป็นวัตรเพราะรู้ว่าเป็นวัตรอันพระพุทธเจ้าและสาวกแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายสรรเสริญ
5. ถืออยู่ป่าเป็นวัตรเพราะอาศัยความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด ความเป็นผู้มีความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร 5 จำพวกนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร 5 จำพวกนี้ ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร เพราะอาศัยความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด ความเป็นผู้มีความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร 5 จำพวกนี้
เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากโค นมส้มเกิดจากนมสด เนยข้นเกิดจากนมส้ม เนยใสเกิดจากเนยข้น หัวเนยใสเกิดจากเนยใส หัวเนยใสชาวโลกย่อมกล่าวว่าเป็นยอดในจำพวก โครส 5 ///// เหล่านั้นฉันใด บรรดาภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร 5 จำพวกนี้ ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตรเพราะอาศัยความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด ความเป็นผู้มีความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้ เป็นเลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร 5 จำพวกนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน
2. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร 5 จำพวกนี้ …
3. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร 5 จำพวกนี้ …
4. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร 5 จำพวกนี้ …
5. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถืออยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร 5 จำพวกนี้ …
6. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถือการนั่งเป็นวัตร 5 จำพวกนี้ …
7. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถืออยู่ในเสนาสนะตามที่ท่านจัดให้อย่างไรเป็นวัตร 5 จำพวกนี้ …
8. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถือการนั่งฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร 5 จำพวกนี้ …
9. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถือห้ามภัตอันนำมาถวาย เมื่อภายหลังเป็นวัตร 5 จำพวกนี้ …
10. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร 5 จำพวกนี้ 5 จำพวกเป็นไฉน คือ
1. ภิกษุเป็นผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร เพราะโง่เขลา เพราะหลงงมงาย
2. มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ จึงเป็นผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร
3. เป็นผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตรเพราะเป็นบ้าเพราะจิตฟุ้งซ่าน
4. เป็นผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร เพราะรู้ว่าเป็นวัตรอันพระพุทธเจ้าและสาวกแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายสรรเสริญ
5. เป็นผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร เพราะอาศัยความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด ความเป็นผู้มีความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร 5 จำพวกนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร 5 จำพวกนี้ ภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร เพราะอาศัยความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด ความเป็นผู้มีความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธานสูงสุด และดีกว่าภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร 5 จำพวกนี้ เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากโค นมส้มเกิดจากนมสด เนยข้นเกิดจากนมส้ม เนยใสเกิดจากเนยข้น หัวเนยใสเกิดจากเนยใส หัวเนยใส ชาวโลกย่อมกล่าวว่าเป็นเลิศในจำพวกโครส 5 เหล่านั้นฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร 5 จำพวกนี้ ภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร เพราะอาศัยความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด ความเป็นผู้มีความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตร เป็นวัตร 5 จำพวกนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน
* * * ศีลที่เป็นกุศล มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์
- บาลี ทสก. อํ. 24/1/1
ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศล มี อวิปปฏิสาร ///// ( ความไม่ร้อนใจ ) เป็นผลมี อวิปปฏิสาร เป็นอานิสงส์
... อวิปปฏิสาร มีปราโมทย์เป็นผล มีปราโมทย์เป็นอานิสงส์
... ปราโมทย์ มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์
... ปีติ มี ปัสสัทธิ ///// ( ความสงบรำงับ ) เป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์
... ปัสสัทธิ มีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์
... สุข มีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์
... สมาธิ มี ยถาภูตญาณทัสสนะ ///// ( ญาณเครื่องรู้เห็นตามที่เป็นจริง ) เป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะ เป็นอานิสงส์
... ยถาภูตญาณทัสสนะ มี นิพพิทา ///// ( ความเบื่อหน่าย ) วิราคะ ///// ( ความคลายกำหนัด ) เป็นผล มีนิพพิทาวิราคะเป็นอานิสงส์
... นิพพิทา วิราคะ มี วิมุตติญาณทัสสนะ ///// เป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์
ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศล ย่อมถึงอรหัตโดยลำดับ ด้วยประการดังนี้แล
* * * ถ้าภิกษุเป็นอยู่โดยชอบ โลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์
- บาลี มหา. ที. 10/172/138
ดูกรสุภัททะ ในธรรมวินัยใด ไม่มีอริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 ในธรรมวินัยนั้น ไม่มีสมณะที่ 1 สมณะที่ 2 สมณะที่ 3 หรือสมณะที่ 4
ในธรรมวินัยใด มีอริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 ในธรรมวินัยนั้น มีสมณะที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 หรือที่ 4
ดูกรสุภัททะ ในธรรมวินัยนี้ มีอริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น มีสมณะที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 หรือที่ 4
ลัทธิอื่นๆ ว่างจากสมณะผู้รู้ทั่วถึง
ก็ถ้าภิกษุเหล่านี้พึงอยู่โดยชอบ โลกจะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย
* * * พระธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ
- บาลี มหา. ที. 10/178/141
…ดูกรอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ก็ข้อนี้ พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น
ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา
ดูกรอานนท์ บัดนี้ พวกภิกษุยังเรียกกันและกันด้วยวาทะว่า อาวุโสฉันใด โดยกาลล่วงไปแห่งเรา ไม่ควรเรียกกันฉันนั้น
ภิกษุผู้แก่กว่า พึงเรียกภิกษุผู้อ่อนกว่า โดยชื่อหรือโคตร หรือโดยวาทะว่า อาวุโส
แต่ภิกษุผู้อ่อนกว่าพึงเรียกภิกษุผู้แก่กว่าว่า ภันเต หรืออายัสมา
ดูกรอานนท์ โดยล่วงไปแห่งเราสงฆ์จำนงอยู่ ก็จงถอนสิกขาบทเล็กน้อยเสียบ้างได้
โดยล่วงไป แห่งเรา พึงลง พรหมทัณฑ์ ///// แก่ฉันนภิกษ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ พรหมทัณฑ์ เป็นไฉน
ดูกรอานนท์ ฉันนภิกษุพึงพูดได้ตามที่ตนปรารถนา ภิกษุทั้งหลายไม่พึงว่า ไม่พึงกล่าว ไม่พึง สั่งสอน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสงสัยเคลือแคลงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในมรรค หรือในข้อปฏิบัติ จะพึงมีบ้างแก่ภิกษุ แม้รูปหนึ่ง พวกเธอจงถามเถิด อย่าได้มีความร้อนใจภายหลังว่า พระศาสดาอยู่เฉพาะหน้าเราแล้ว ยังมิอาจทูลถามพระผู้มีพระภาคในที่เฉพาะพระพักตร์
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นพากันนิ่ง แม้ครั้งที่สอง ... แม้ครั้งที่สาม พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสงสัยเคลือบแคลงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในมรรค หรือในข้อปฏิบัติจะพึงมีบ้างแก่ภิกษุแม้รูปหนึ่ง พวกเธอจงถามเถิด อย่าได้มีความร้อนใจในภายหลังว่า พระศาสดาอยู่เฉพาะหน้าเราแล้ว เรายังมิอาจทูลถามพระผู้มีพระภาคในที่เฉพาะพระพักตร์
แม้ครั้งที่สามภิกษุเหล่านั้น ก็พากันนิ่ง ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลายบางทีพวกเธอไม่ถาม แม้เพราะความเคารพในพระศาสดา แม้ภิกษุผู้เป็นสหายก็จงบอกแก่ภิกษุผู้สหายเถิด
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุพวกนั้น พากันนิ่ง ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว ข้าพระองค์เลื่อมใส ในภิกษุสงฆ์อย่างนี้ว่า ความสงสัยเคลือบแคลงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในมรรค หรือใน ข้อปฏิบัติ มิได้มีแก่ภิกษุแม้รูปหนึ่งในภิกษุสงฆ์นี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรอานนท์ เธอพูดเพราะความเลื่อมใส ตถาคตหยั่งรู้ในข้อนี้เหมือนกันว่า ความสงสัยเคลือบแคลงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในมรรคหรือในข้อปฏิบัติ มิได้มีแก่ภิกษุแม้รูปหนึ่ง ในภิกษุสงฆ์นี้ บรรดาภิกษุ 500 รูปนี้ ภิกษุรูปที่ตำที่สุด ก็เป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงมีอันจะตรัสรู้ในภายหน้า
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนพวกเธอว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด นี้เป็น พระ ปัจฉิมวาจา ///// ของพระตถาคต
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
* * * ( 1 ) : มีที่ทรงตรัสไว้โดยนัยอื่นอีกอย่างน้อย 7 พระสูตร ซึ่งรวมแล้วมี 13 ข้อ - ผู้รวบรวม
* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก / หัวข้อใหญ่สุด : อริยวินัย ที่มาในพระไตรปิฎกเล่มอื่นๆ / หัวข้อย่อยรองลงมา : อริยวินัย-ที่มาในพระไตรปิฎกเล่มอื่นๆ-หน้า-1
* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย / หน้าที่ : 1,001 , 1,002 , 1,003 , 1,004 , 1,005 , 1,006 , 1,007