1 ) อันตคาหิกทิฐิ คือ ทิฐิอันถือเอาที่สุด
ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยง ทิฐิถือเอาที่สุดเช่นนั้น จึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ
ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่เที่ยง ทิฐิถือเอาที่สุดเช่นนั้น จึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ
ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกมีที่สุด ทิฐิถือเอาที่สุดเช่นนั้น จึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ
ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่มีที่สุด ทิฐิถือเอาที่สุดเช่นนั้น จึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ
ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ทิฐิถือเอาที่สุดเช่นนั้น จึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ
ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น ทิฐิถือเอาที่สุดเช่นนั้น จึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ
ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก ทิฐิถือเอาที่สุดเช่นนั้น จึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ
ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก ทิฐิถือเอาที่สุดเช่นนั้น จึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ
ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี ทิฐิถือเอาที่สุดเช่นนั้น จึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ
ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็ หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ทิฐิถือเอาที่สุดเช่นนั้น จึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ
อันตคาหิกทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ
( 2 ) อันตคาหิกทิฐิ มีวัตถุ 10 คือ
1. ความเห็นว่า โลกเที่ยง
2. ความเห็นว่า โลกไม่เที่ยง
3. ความเห็นว่า โลกมีที่สุด
4. ความเห็นว่า โลกไม่มีที่สุด
5. ความเห็นว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น
6. ความเห็นว่า ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น
7. ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีก
8. ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีก
9. ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี
10. ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้
นี้เรียกว่า อันตคาหิกทิฐิมีวัตถุ 10
* * * : ข้างบนนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://uttayarndham.org/ธรรมานุกรม/4490/อ-อันตคาหิกทิฏฐิ
- - - - - - - - - - - - - - - - - - -
- จบ -