Saturday, October 8, 2022

อริยวินัย-ที่มาในพระไตรปิฎกเล่มอื่นๆ-หน้า-7

 

- หน้า 7 ( หน้าสุดท้าย ) -



ก่อนหน้านี้ 


1  <  2  <  3  <  4  <  5  <  6  <  7 



* * * แต่ก็ไม่ให้เนิ่นช้า 

-บาลี อฏฺฐก. อํ. 23/233-234/120 


       ดีแล้วๆ อนุรุทธะ ถูกละ ที่เธอตรึก มหาปุริสวิตก /////  ว่า

       1. ธรรมะนี้ เป็นธรรมของบุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก 

       2. ธรรมะนี้ ของบุคคลผู้สันโดษ มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ 

       3. ธรรมะนี้ ของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของบุคคลผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ 

       4. ธรรมะนี้ ของบุคคลผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน 

       5. ธรรมะนี้ ของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม 

       6. ธรรมะนี้ ของบุคคลผู้มีจิตมั่นคง มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง 

       7.ธรรมะนี้ ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม 

       อนุรุทธะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงตรึกมหาปุริสวิตกข้อที่ 8 นี้ว่า

       8. ธรรมนี้ เป็นธรรมของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า 



* * * ภิกษุเพียรตลอดเวลาทำอย่างไร 

-บาลี จตุกฺก. อํ. 21/17/11 


       ภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้ กามวิตก /////  พยาบาทวิตก /////   หรือ วิหิงสาวิตก /////  เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เดินอยู่ ( ผู้ยืนอยู่ ผู้นั่งอยู่ ผู้นอนตื่นอยู่ ) และภิกษุไม่ยินดี ละบรรเทา กระทำให้พินาศซึ่งวิตกนั้น ให้ถึงความไม่มีภิกษุแม้เดินอยู่ ( ยืนอยู่ นั่งอยู่ นอนตื่นอยู่ ) เป็นอย่างนี้ เราเรียกว่า ผู้มีความเพียร มี โอตตัปปะ /////  มีความเพียรอันปรารภแล้วเป็นนิจนิรันดร มีใจเด็ดเดี่ยว 



* * * อานิสงส์สำหรับผู้ทำศีลให้สมบูรณ์  

-บาลี มู. ม. 12/58-63/73-90


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นมีศีลอันสมบูรณ์ มี ปาติโมกข์ /////  อันสมบูรณ์อยู่เถิด จงเป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วย อาจาระและโคจร /////  อยู่เถิด จงเป็นผู้มีปกติเห็นภัยในโทษทั้งหลาย มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาใน สิกขาบท /////  ทั้งหลายเถิด 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า ขอเราพึงเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่เคารพ และเป็นผู้ควรยกย่องของเพื่อน พรหมจรรย์ /////  ทั้งหลายเถิด ดังนี้ ภิกษุนั้น พึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วย วิปัสสนา /////  พอกพูน สุญญาคาร /////  


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า ขอเราพึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ /////  และ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร /////  เถิด ดังนี้ ...


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของเทวดาหรือมนุษย์เหล่าใด สักการะเหล่านั้นของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้นพึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่เถิด ดังนี้ ...


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า ญาติและสาโลหิตของเราเหล่าใด ล่วงลับทำกาละไปแล้ว มีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงอยู่ ความระลึกถึงด้วยจิตอันเลื่อมใส ของญาติและสาโลหิตเหล่านั้น พึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่เถิด ดังนี้ ...  


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ข่มความไม่ยินดี และความยินดีได้ อนึ่ง ความไม่ยินดีอย่าพึงครอบงำเราได้เลย เราพึงครอบงำย่ำยีความไม่ยินดีอันเกิดขึ้นแล้วได้อยู่เถิด ดังนี้ ... 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ข่มความกลัวและความขลาดได้ อนึ่ง ความกลัวและความขลาด อย่าพึงครอบงำเราได้เลย เราพึงครอบงำ ย่ำยี ความกลัวและความขลาดที่เกิดขึ้นแล้วได้อยู่เถิด ดังนี้ ... 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ได้ฌานทั้งสี่ อันเกิดขึ้นเพราะจิตยิ่ง เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขใน ทิฏฐธรรม /////  ตามความปรารถนาพึงได้ไม่ยาก ไม่ลำบากเถิด ดังนี้ ... 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงถูกต้องด้วยกายซึ่ง วิโมกข์ /////  อันก้าวล่วง รูปาวจรฌาน แล้ว เป็นธรรมไม่มีรูป สงบระงับอยู่เถิด ... 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็น โสดาบัน /////  เพราะความสิ้นไปแห่ง สังโยชน์สาม พึงเป็นผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงมีอันตรัสรู้เป็นเบื้องหน้าเถิด ดังนี้ ... 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็น พระสกทาคามี /////  เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม ( และ ) เพราะราคะ โทสะ โมหะ เป็นสภาพเบาบาง พึงมาสู่โลกนี้เพียงครั้งเดียว แล้วพึงทำที่สุดทุกข์ได้เถิด ดังนี้ ... 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็น อุปปาติกสัตว์ /////   เพราะความสิ้นไปแห่ง โอรัมภาคิยสังโยชน์ห้า /////  พึงปรินิพพานในพรหมโลกนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดาเถิด ดังนี้ ... 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ ... ดังนี้ ... 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ ... ดังนี้ ... 


       ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “เราใคร่ครวญแล้ว พึงรู้จิตของสัตว์เหล่าอื่น ของบุคคลเหล่าอื่น ด้วยจิตของตน...” ดังนี้ก็ดี ... 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก ... ดังนี้ ... 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติเลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ... ดังนี้ ... 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุตติ /////  ปัญญาวิมุตติ /////  อันหา อาสวะ /////  มิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่เถิด ดังนี้ 

       ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตนไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วย วิปัสสนา พอกพูน สุญญาคาร คำใด ที่เรากล่าวแล้วว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีศีลอันถึงพร้อม มีปาติโมกข์อันถึงพร้อมแล้วอยู่เถิด เธอทั้งหลายจงเป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจรอยู่เถิด เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด ดังนี้

       คำนั้น อันเราอาศัยอำนาจประโยชน์นี้ จึงได้กล่าวแล้ว ฉะนี้แล 



* * * ตายนะคาถา

-บาลี สคาถ. สํ. 15/68/240 


       ท่านจงพยายามตัดกระแสตัณหา จงบรรเทากามเสียเถิด พราหมณ์

       มุนีไม่ละกาม ย่อมไม่เข้าถึงความที่จิตแน่วแน่ได้ 

       ถ้าบุคคลจะพึงทำความเพียร พึงทำความเพียรนั้นจริงๆ พึงบากบั่นทำความเพียรนั้นให้มั่น เพราะว่าการบรรพชาที่ปฏิบัติย่อหย่อน ยิ่งเรี่ยรายโทษดุจธุลี

       ความชั่ว ไม่ทำเสียเลยประเสริฐกว่า ความชั่วย่อมเผาผลาญในภายหลัง

       ก็กรรมใดทำแล้วไม่เดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้นเป็นความดี ทำแล้วประเสริฐกว่า 

       หญ้าคาอันบุคคลจับไม่ดี ย่อมบาดมือนั่นเอง ฉันใด 

       ความเป็นสมณะ อันบุคคลปฏิบัติไม่ดี ย่อมฉุดเข้าไปเพื่อเกิดในนรก ฉันนั้น 

       กรรมอันย่อหย่อนอย่างใดอย่างหนึ่ง วัตรอันใดที่เศร้าหมอง และพรหมจรรย์ที่น่ารังเกียจ ทั้งสามอย่างนั้น ไม่มีผลมาก 



* * * ธรรมทายาท 

-บาลี มู. ม. 12/21/21


       “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลายจงพากันเป็น ธรรมทายาท /////  ( คือรับมรดกธรรม) ของเราเถิด , อย่าได้เป็น อามิสทายาท /////  ( คือรับมรดก สิ่งของ ) เลย

       ความเป็นห่วงของเรา ในเธอทั้งหลายมีอยู่ว่า ทำอย่างไรเสีย สาวกทั้งหลายของเรา พึงเป็นธรรมทายาทเถิดอย่าได้เป็นอามิสทายาทเลย” 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อริยวินัย ที่มาในพระไตรปิฎกเล่มอื่นๆ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : อริยวินัย-ที่มาในพระไตรปิฎกเล่มอื่นๆ-หน้า-6 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 1,039 , 1,040 , 1,041 , 1,042



- จบหน้า 7 - 


ก่อนหน้านี้ 


1  <  2  <  3  <  4  <  5  <  6  <  7