Friday, October 7, 2022

อปริหานิยธรรม

 




       อปริหานิยธรรม หมายถึง ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม แต่เป็นธรรมเพื่อความเจริญ กล่าวคือ ถ้าบุคคล ปฏิบัติตามอปริหานิยธรรม บุคคลนั้น จะมีแต่ความเจริญความก้าวหน้าในชีวิต ไม่มีความเสื่อม ความเสียหาย อันเป็นอุปการะมากสำหรับผู้ปฏิบัติ ผู้บริหาร หมู่ชน และคนในสังคม 

       อปริหานิยธรรม แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ

       1. อปริหานิยธรรมสำหรับคฤหัสถ์ 


       2. อปริหานิยธรรมสำหรับพระสงฆ์  



อปริหานิยธรรมสำหรับคหัสถ์ ( วัชชีอปริหานิยธรรม ) 7 ประการ 

       อปริหานิยธรรมสำหรับคหัสถ์ 7 ประการ แสดงธรรมโดยพระพุทธองค์ แก่เจ้าลิจฉวีเพื่อให้ปฏิบัติตาม เมื่อครั้นประทับ ณ สารันทเจดีย์ ใกล้กรุงเวสาลี แคว้นวัชชี ประกอบด้วยธรรม 7 ประการ ที่พออธิบายให้เข้าใจง่ายๆ คือ 

       1. จัดประชุม และหารือกันเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้เป็นนิตย์ 


       2. การประชุมต้องให้หมู่คณะมีเพรียงกัน รวมถึงการเลิกประชุม และการทำกิจอันสมควรให้พร้อมเพรียง 


       3. บัญญัติหรือมีมติในสิ่งในเรื่องใหม่ และข้อบัญญัติไม่ขัดหรือตัดรอนบัญญัติก่อน พร้อมยอมรับ และศึกษาในธรรมะของชาววัชชีที่ได้บัญญัติก่อน 


       4. ให้เคารพนับถือคำกล่าวของผู้อาวุโส 


       5. ไม่ล่วงละเมิดทางใจ และกายในสตรีที่มีสามีหรือสตรีสาวในชาววัชชี 


       6. ให้ความเคารพ และสักการะ รวมถึงการบูรณะเจดีย์หรือพุทธสถานที่ปลูกสร้างไว้ 


       7. ให้การสงเคราะห์ และอุปการะแก่สงฆ์ทั้งหลาย


       และในสมัยพระเจ้าอชาตศัตรูกษัตริย์แห่งรัฐมคธ ทรงหวังจะตีเอาแคว้นวัชชีมาปกครอง แต่ก่อนนั้นได้ส่งวัสสการพราหมณ์ ผู้เป็นมหาอำมาตรประจำแคว้นไปเฝ้าพระพุทธองค์ที่เขาคิชฌกุฎ พร้อมให้เล่าแจ้งให้ทรงทราบ และให้วัสสการพราหมณ์ฟังดูว่า พระพุทธองค์จะทรงพยากรณ์ว่าอย่างไร 

       เมื่อวัสสการพราหมณ์เข้าไปเฝ้า และได้กราบทูลในเรื่องนั้นเหล่านั้น พระพุทธองค์ทรงตรัสถามพระอานนท์ในเนื้อหาแห่งอปริหานิยธรรม 7 ประการ ที่พระองค์เคยตรัสแสดงอปริหานิยธรรมทั้ง 7 ประการ เมื่อครั้นประทับ ณ สารันทเจดีย์ใกล้กรุงเวสาลี เพื่อยังให้วัสสการพราหมณ์ได้รับฟัง อันจะหวังความเจริญเพื่อไม่ให้เกิดความเสื่อมว่า ครั้นกล่าวจบ วัสสการพรามหมณ์ก็กราบทูลว่า เพียงข้อใดข้อหนึ่งก็หวังความเจริญเพื่อไม่ให้เกิดความเสื่อมได้ อันไม่จำเป็นต้องทำให้เกิดถึง 7 ข้อ ดังนั้น พระเจ้าอชาตศัตรูไม่ควรทำการรบกับชาววัชชี เว้นไว้แต่จะใช้วิธีการยุให้ชาวเมืองแตกแยกกัน เมื่อกล่าวจบแล้ว วัสสการพรามหมณ์ก็กราบทูลลากลับไป 



อปริหานิยธรรมสำหรับพระภิกษุ (ภิกขุอปริหานิยธรรม) 7 ประการ 

       หลังจาก ได้แสดงอปริหานิยธรรม 7 ประการ แก่วัสสการพราหมณ์แล้ว ต่อมาจึงตรัสเรียกประชุมสงฆ์ทั้งหมดที่อยู่ในกรุงราชคฤห์ พร้อมกับแสดงธรรมอปริหานิยธรรมทั้ง 7 ประการ ดังนี้ 

       1. ให้หมั่นประชุม และหา เพื่อแลกเปลี่ยนธรรมกันเป็นนิตย์ 


       2. การประชุมให้เกิดความพร้อมเพรียงทั้งในหมูคณะ การเลิกประชุม และการทำกิจอันสมควร 


       3. ไม่พึงบัญญัติในสิ่งที่พระพุทธองค์ไม่เคยบัญญัติ และไม่เพิกถอนที่สิ่งที่พระพุทธองค์ได้บัญญัติไว้ รวมถึงข้อบัญญัติใหม่ไม่พึงขัดหรือตัดรอนกับบัญญัติที่พระพุทธองค์ได้ทรงบัญญัติไว้ 


       4. พึงเชื่อ และเคารพในภิกษุที่อาวุโส 


       5. พึงละเว้น และไม่ลุในความอยากทั้งหลาย 


       6. พึงยินดีในสถานที่พักของตน 


       7. พึงตั้งความปรารถนาดีในทางธรรมต่อพระภิกษุหรือสามเณรผู้ที่จะเข้ามาอยู่ร่วม 



* * * : ข้างบนนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://thai.luxurysocietyasia.com/ความหมาย-อปริหานิยธรรมส/  


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

อปริหานิยธรรม 7 

       อปริหานิยธรรม 7 หมายถึง ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความไม่เสื่อม 7 ประการ ผู้ปฏิบัติ ธรรมนี้จะเป็นไปเพื่อความเจริญทั้งฝ่ายบ้านเมืองและฝ่ายสงฆ์ คือ 


ฝ่ายบ้านเมือง

       1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ การอยู่ร่วมกัน การทำงานร่วมกันของคนในสังคมจะต้องมีการพบปะ ประชุมปรึกษาหารือกันสม่ำเสมอ เพื่อแก้ไขปัญหาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ยอมรับในเหตุผลที่ถูกต้องที่เป็นประโยชน์ เพื่อความเข้าใจที่ดีต่อกันของทุกคนในสังคมซึ่งความเจริญไม่เกิดความเสื่อมในทุกกรณี เช่น ในครอบครัว พ่อ แม่ ลูก มีอะไรพูดกันปรึกษากัน ลูกก็จะอบอุ่น ปัญหาลูกไปติดยาเสพย์ติด ก็จะไม่เกิดขึ้น ในสถานที่ทำงาน หัวหน้ามีการประชุมปรึกษากับผู้ร่วมงานทุกครั้ง งานก็จะราบรื่น หากมีข้อผิดพลาด ทุกคนก็จะยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น


       2. พร้อมเพรียงกันประชุม เลิกประชุมและกระทำกิจที่ควรทำ เพื่อให้เกิดความยุติธรรมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของหมู่คนที่อยู่รวมกันไม่กินแหนงแคลงใจกัน จะทำงานอะไรก็สำเร็จได้ เช่นในครอบครัวมีอะไรปรึกษาหารือกันก็ต้องอยู่พร้อมๆ กันเพื่อทุกคนจะได้ยอมรับในสิ่งที่จะทำลงไปด้วยความเต็มใจ 


       3. ไม่บัญญัติสิ่งที่ยังไม่ได้บัญญัติและไม่เลิกล้มสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว เช่น บ้านเมืองจะสงบสุขได้ ทุกคนจะต้องบัญญัติและไม่ล้มเลิก ระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ ของคณะและสังคมตามความพอใจของตนหรือของกลุ่มโดยไม่คำนึงถึงความถูกต้อง ตัวอย่าง เช่น นักเรียนจะต้องแต่งเครื่องแบบของโรงเรียนเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย จะแต่งกายตามใจตนเองไม่ได้ 


       4. เคารพนับถือผู้ใหญ่การเคารพและรับฟังคำสั่งสอนของผู้ใหญ่ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี เพราะผู้ใหญ่เกิดก่อน ผ่านประสบการณ์มามากกว่า ประกอบกับการอยู่ร่วมกันในสังคมต้องมีผู้นำ ถ้าเราให้การเคารพและเชื่อฟังผู้นำ สังคมก็จะไม่วุ่นวาย เช่น ถ้าลูกเชื่อฟังพ่อ แม่ ก็จะเป็นคนดีได้เพราะไม่มีพ่อแม่คนไหน อยากลูกตนเองให้ชั่ว 


       5. ไม่ข่มเหงล่วงเกินสตรี สตรีถือว่าเป็นเพศแม่ เป็นเพศที่อ่อนแอ บุรุษควรให้เกียรติให้ การยกย่อง ปกป้องไม่ให้ใครละเมิดสิทธิหรือข่มเหงรังแก ถ้าสังคมใดๆ ผู้หญิงถูกฉุดคร่าข่มขืน มากๆ ความเสื่อมก็จะเกิดกับสังคมนั้น 


       6. สักการะเคารพเจดีย์ หมายถึงการให้ความเคารพและปกป้องรักษาปูชนียสถานที่สำคัญในศาสนา เพื่อจะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของกลุ่มคนในหมู่คณะที่อยู่ร่วมกันและระลึกถึงกันเช่น การเคารพพระปฐมเจดีย์ 


       7. ให้การอารักขา คุ้มครอง อันชอบธรรมแก่พระอรหันต์ คือการคุ้มครองบรรพชิตซึ่งเป็นผู้สืบทอดพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ตลอดไป เช่นการทำบุญด้วยปัจจัย 4 เป็นต้น 



ฝ่ายพระสงฆ์ 

       1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ในกิจของสงฆ์ที่ต้องทำร่วมกันไม่ว่าเรื่องเล็กหรือใหญ่ เช่น การทำอุโบสถสังฆกรรม 


       2. พร้อมเพรียงกันประชุม เลิกประชุมและทำกิจที่สงฆ์ต้องทำการประชุมถือว่าเป็นกิจที่สงฆ์ต้องทำร่วมกัน แต่การที่จะให้สงฆ์ทุกรูปยอมรับซึ่งกันและกัน เพื่อความสามัคคีก็จะต้องอาศัยความพร้อมเพรียงกันทุก ๆ ครั้ง เช่น การทำพิธีกรรมในงานมงคลนิยมใช้พระสงฆ์ 9 รูป ก็ต้องมาพร้อมกันจึงจะทำพิธีกรรมได้ 


       3. ไม่บัญญัติในสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงบัญญัติ ไม่ล้มเลิกสิ่งที่พระองค์บัญญัติไว้ ถือว่าสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ เปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญที่พระสงฆ์จะต้องปฏิบัติตาม 


       4. เคารพนับถือและรับฟังถ้อยคำของภิกษุผู้ใหญ่ ในการปกครองของพระสงฆ์จะให้อำนาจแก่ผู้ที่มีความสามารถตามบรรดาศักดิ์ เช่น ภิกษุผู้ใหญ่สังฆบิดร สังฆปรินายก ภิกษุทุกรูปจะต้องปฏิบัติตามลำดับขั้นเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย 


       5. ไม่ลุอำนาจแก่ความอยากที่เกิดขึ้น เพราะพระสงฆ์ตัดแล้วซึ่งกิเลสตัณหา ความอยากมีอยากได้จะต้องไม่เกิดขึ้น จึงจะเป็นที่ยกย่องของคนทั่วไป 


       6. ยินดีในเสนาสนะอันควร คือพระสงฆ์ต้องมีชีวิตเรียบง่าย มุ่งแสวงหาธรรมเพื่อเผยแพร่ให้กับผู้อื่น 


       7. ตั้งใจอยู่ว่า เพื่อนภิกษุสามเณร เป็นผู้มีศีล ซึ่งยังไม่มาสู่อาวาสขอให้มา ที่มาแล้วขอให้อยู่เป็นสุข คือ พระสงฆ์ต้องใจกว้างยินดีต้อนรับสมาชิกใหม่และมีความปรารถนาดีต่อสมาชิกเก่า เพื่อสังคมสงฆ์จะได้ไม่เกิดความเสื่อม 



* * * : ข้างบนนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://www.baanjomyut.com/library_3/extension-3/aparihaniya/index.html  


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  



- จบ -