อธิศีลสิกขา การศึกษาในอธิศีล , ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมในทางความประพฤติอย่างสูง , การฝึกฝนอบรมความประพฤติทางกาย วาจา คือ ระเบียบวินัย การอยู่ร่วมกับผู้อื่นและในสิ่งแวดล้อมต่างๆ ด้วยดี ให้เกื้อกูล ไม่เบียดเบียน ไม่ทำลาย เป็นพื้นฐานแห่งการฝึกอบรมจิตใจในอธิจิตตสิกขา ( ข้อ 1 ในสิกขา 3 หรือไตรสิกขา )
เขียนอย่างบาลีเป็น อธิสีลสิกขา และ เรียกกันง่ายๆ ว่า ศีล
* * * : ข้างบนนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CD%B8%D4%CA%D5%C5%CA%D4%A1%A2%D2
- - - - - - - - - - - - - - - - - - -
อธิศีลสิกขา เป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วด้วยการสำรวมในพระปาฏิโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร เห็นภัยในโทษมีประมาณเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายศีลขันธ์น้อย ศีลขันธ์ใหญ่ ศีลที่ตั้งเบื้องต้น เบื้องบาท ความสำรวม ความระวัง ปาก ประธาน แห่งความถึงพร้อมด้วยกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า อธิศีลสิกขา
อธิจิตตสิกขา เป็น อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปิติ และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เพราะวิตกและวิจารสงบไป จึงบรรลุทุติยฌาน ไม่มี วิตก วิจาร มีปิติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เพราะปิติสิ้นไป จึงมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกายบรรลุ ตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ที่ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เพราะละสุกและทุกข์ และดับโสมนันและโทมนัสก่อน ๆ ได้ จึงบรรลุจตุถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เรียกว่า อธิจิตตสิกขา
อธิปัญญาสิกขา เป็น อย่างไร ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญาประกอบไปด้วยปัญญาอันให้ถึงความเกิด และความดับ อันประเสริฐชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกข์สมุทัย นี้ทุกข์นิโรธ นี้ทุกข์นิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้เป็นเหตุให้เกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ นี้เรียกว่า อธิปัญญาสิกขา
* * * : ข้างบนนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://www.baanjomyut.com/library_7/vipassana/02.html
- - - - - - - - - - - - - - - - - - -
- จบ -