คำเสียสละของเป็นนิสสัคคีย์
จีวรวรรค สิกขาบทที่ 1 ( เกี่ยวกับการเก็บจีวรเกินจำเป็นไว้เกิน 10 วัน )
พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้า อุตตราสงค์ เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ///// ประนมมือกล่าวอย่างนี้ว่า
“อิทัง เม ภันเต ( อาวุโส ) จีวะรัง ทะสาหาติกกันตัง นิสสัคคิยัง อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ”
“ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้าล่วง 10 วัน เป็นของจำจะเสียสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน”
ถ้าสละตั้งแต่ 2 ผืนขึ้นไป พึงว่ารวมกัน ดังนี้
“อิมานิ เม ภันเต ( อาวุโส ) จีวะรานิ ทะสาหาติกกันตานิ นิสสัคคิยานิ อิมานาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ”
“ท่านเจ้าข้า จีวรเหล่านี้ของข้าพเจ้าล่วง 10 วัน เป็นของจำจะเสียสละ ข้าพเจ้าสละจีวรเหล่านี้แก่ท่าน”
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้นพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยคำว่า
คำคืนจีวร
จีวรผืนเดียว พึงว่า “อิมัง จีวะรัง อายัส๎มะโต ทัมมิ”
จีวรหลายผืน พึงว่า “อิมานิ จีวะรานิ อายัส๎มะโต ทัมมิ”
จีวรวรรค สิกขาบทที่ 2 ( เกี่ยวกับอยู่ปราศจากไตรจีวร แม้ราตรีหนึ่ง )
พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
“อิทัง เม ภันเต ( อาวุโส ) จีวะรัง รัตติวิปปะวุตถัง อัญญัต๎ระ ภิกขุสัมมะติยา นิสสัคคิยัง อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ”
“ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า อยู่ปราศจากแล้วล่วงราตรีเป็นของจำจะเสียสละ เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน”
ถ้าสละ 2 ผืน พึงว่า “ทะวิจีวะรัง”
ถ้าสละ 3 ผืน พึงว่า “ติจีวะรัง”
ครั้นสละแล้ว พึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้นพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้อย่างสิกขาบทที่ 1
จีวรวรรค สิกขาบทที่ 3 ( เกี่ยวกับเก็บอกาลจีวร ไว้เกินกำหนด )
“อิทัง เม ภันเต ( อาวุโส ) จีวะรัง อะกาละจีวะรัง มาสาติกกันตัง นิสสัคคิยัง อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ”
“อกาลจีวรผืนนี้ของข้าพเจ้าล่วงเดือนหนึ่ง จำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน”
จีวรวรรค สิกขาบทที่ 6 ( เกี่ยวกับขอจีวรต่อคฤหัสถ์ ที่ไม่ใช่ญาติ )
“อิทัง เม ภันเต ( อาวุโส ) จีวะรัง อัญญาตะกัง คะหะปะติกัง อัญญัต๎ระ สะมะยา วิญญาปิตัง นิสสัคคิยัง อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ”
“จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ขอต่อเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ นอกจากสมัยเป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน”
จีวรวรรค สิกขาบทที่ 7 ( เกี่ยวกับจีวรฉิบหายไป แล้วรับจีวรเกินกำหนด )
“อิทัง เม ภันเต ( อาวุโส ) จีวะรัง อัญญาตะกัง คะหะปะติกัง ตะทุตตะริง วิญญาปิตัง นิสสัคคิยัง อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ”
“ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ขอแล้วเกินกำหนดต่อเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน”
จีวรวรรค สิกขาบทที่ 8 ( เกี่ยวกับพูดให้เขาซื้อจีวรที่ดีกว่าเขากำหนด )
“อิทัง เม ภันเต ( อาวุโส ) จีวะรัง ปุพเพ อัปปะวาริโต อัญญาตะกัง คะหะปะติกัง อุปะสังกะมิต๎วา จีวะเร วิกัปปัง อาปันนัง นิสสัคคิยัง อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ”
“ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เขาไม่ได้ ปวารณา ///// ไว้ก่อน ข้าพเจ้าเข้าไปหาเจ้าเรือนผู้ไม่ใช่ญาติ ถึงการกำหนดในจีวร เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน”
จีวรวรรค สิกขาบทที่ 10 ( เกี่ยวกับทวงจีวรจากผู้รับฝากผู้อื่นเกิน 3 กำหนด )
“อิทัง เม ภันเต ( อาวุโส ) จีวะรัง อะติเรกะติกขัตตุง โจทะนายะ อะติเรกะฉักขัตตุง ฐาเนนะ อะภินิปผาทิตัง นิสสัคคิยัง อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.”
“ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้สำเร็จด้วยทวงเกิน 3 ครั้ง ด้วยยืนเกิน 6 ครั้ง เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน”
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ 8 ( เกี่ยวกับรับเงินหรือทอง )
“อะหัง ภันเต ( อาวุโส ) รูปิยัง ปะฏิคคะเหสิง , อิทัง เม นิสสัคคิยัง อิมาหัง สังฆัสสะ นิสสัชชามิ”
“ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้ารับ รูปิยะ ///// ไว้แล้ว ของนี้ของข้าพเจ้า เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละรูปิยะนี้แก่สงฆ์”
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ 9 ( เกี่ยวกับทำการซื้อขายด้วยรูปิยะ )
“อะหัง ภันเต ( อาวุโส ) นานัปปะการะกัง รูปิยะสังโวหารัง สะมาปัชชิง , อิทัง เม นิสสัคคิยัง , อิมาหัง สังฆัสสะ นิสสัชชามิ”
“ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถึงการซื้อขาย ด้วยรูปิยะมีประการต่างๆ ของสิ่งนี้ของข้าพเจ้าเป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละของสิ่งนี้แก่สงฆ์”
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ 10 ( เกี่ยวกับทำการซื้อขาย โดยใช้ของแลก )
“อะหัง ภันเต ( อาวุโส ) นานัปปะการะกัง กะยะวิกกะยัง สะมาปัชชิง , อิทัง เม นิสสัคคิยัง , อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ”
“ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าได้ถึงการแลกเปลี่ยนมีประการต่างๆ ของสิ่งนี้ของข้าพเจ้าเป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละของสิ่งนี้แก่ท่าน”
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 1 ( เกี่ยวกับบาตรที่เกิน 1 ลูกไว้เกิน 10 วัน )
“อะยัง เม ภันเต ( อาวุโส ) ปัตโต ทะสาหาติกกันโต นิสสัคคิโย , อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ”
“ท่านเจ้าข้า บาตรใบนี้ของข้าพเจ้าล่วง 10 วัน เป็นของจำจะเสียสละ ข้าพเจ้าสละบาตรใบนี้แก่ท่าน”
คำคืนบาตร
“อิมัง ปัตตัง อายัส๎มะโต ทัมมิ”
“ข้าพเจ้าให้บาตรใบนี้แก่ท่าน”
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 2 ( เกี่ยวกับบาตรร้าวไม่เกิน 5 แห่ง ขอบาตรใหม่ )
“อะยัง เม ภันเต ( อาวุโส ) ปัตโต อูนะปัญจะพันธะเนนะ ปัตเตนะ เจตาปิโต นิสสัคคิโย , อิมาหัง สังฆัสสะ นิสสัชชามิ”
“ท่านเจ้าข้า บาตรใบนี้ของข้าพเจ้า ให้จ่ายมาแล้ว เป็นของจำจะสละ เพราะเป็นบาตรมีแผลหย่อนห้า ข้าพเจ้าสละบาตรใบนี้แก่สงฆ์”
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 3 ( เกี่ยวกับเก็บเภสัช 5 ไว้เกิน 7 วัน )
“อิทัง เม ภันเต ( อาวุโส ) เภสัชชัง สัตตาหาติกกันตัง นิสสัคคิยัง , อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ”
“ท่านเจ้าข้า เภสัช ///// นี้ของข้าพเจ้าล่วง 7 วัน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละเภสัชนี้แก่ท่าน”
คำคืนเภสัช
“อิมัง เภสัชชัง อายัส๎มะโต ทัมมิ”
“ข้าพเจ้าให้เภสัชนี้แก่ท่าน”
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 4 ( เกี่ยวกับแสวงหาและทำผ้าอาบน้ำฝนก่อนเวลา )
“อิทัง เม ภันเต (อาวุโส) วัสสิกะสาฏิกะจีวะรัง อะติเรกะมาเส เสเส คิมหาเน ปะริยิฏฐัง อะติเรกัฑฒะมาเส เสเส คิมหาเน กัต๎วา นิวัตถัง นิสสัคคิยัง อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ”
“ท่านเจ้าข้า จีวรคือ ผ้าอาบน้ำฝน ///// ผืนนี้ของข้าพเจ้า แสวงหาได้มาในฤดูร้อน ซึ่งยังเหลือเกินกว่า 1 เดือน ทำนุ่งในฤดูร้อน ซึ่งยังเหลืออยู่เกินกว่ากึ่งเดือน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรคือผ้าอาบน้ำฝนนี้แก่ท่าน”
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 5 ( เกี่ยวกับให้จีวรแก่ภิกษุอื่นแล้วชิงคืน )
“อิทัง เม ภันเต ( อาวุโส ) จีวะรัง ภิกขุสสะ สามัง ทัต๎วา อัจฉินนัง นิสสัคคิยัง อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ”
“ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้แก่ภิกษุเอง แล้วชิงเอามา เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน”
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 6 ( เกี่ยวกับขอด้ายมาเองแล้ว ให้ช่างทอเป็นจีวร )
“อิทัง เม ภันเต ( อาวุโส ) จีวะรัง สามัง สุตตัง วิญญาเปต๎วา ตันตะวาเยหิ วายาปิตัง นิสสัคคิยัง อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ”
“ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ขอด้ายมาเองแล้ว ยังช่าง หูก ///// ให้ทอ เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน”
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 7 ( เกี่ยวกับให้ช่างทอดีกว่าผู้ที่จะถวายกำหนด )
“อิทัง เม ภันเต ( อาวุโส ) จีวะรัง ปุพเพ อัปปะวาริโต อัญญาตะกัสสะ คะหะปะติกัสสะ ตันตะวาเย อุปะสังกะมิต๎วา จีวะเร วิกัปปัง อาปันนัง นิสสัคคิยัง อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ”
“ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ข้าพเจ้าเข้าไปหาช่างหูกของเจ้าเรือน ผู้ไม่ใช่ญาติ ถึงความกำหนดในจีวร เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน”
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 8 ( เกี่ยวกับเก็บผ้าจำนำพรรษาไว้เกินจีวรกาล )
“อิทัง เม ภันเต ( อาวุโส ) อัจเจกะจีวะรัง จีวะระกาละสะมะยัง อะติกกามิตัง นิสสัคคิยัง อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ”
“ท่านเจ้าข้า ผ้า อัจเจกจีวร ///// ผืนนี้ของข้าพเจ้า เก็บไว้ล่วงเลยสมัย จีวรกาล ///// เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้แก่ท่าน”
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 9 ( เกี่ยวกับอยู่ป่ามีภัยเก็บจีวรในบ้านเกิน 6 คืน )
“อิทัง เม ภันเต ( อาวุโส ) จีวะรัง อะติเรกะฉารัตตัง วิปปะวุตถัง อัญญัต๎ระ ภิกขุสัมมะติยา นิสสัคคิยัง อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ”
“ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า อยู่ปราศแล้วเกิน 6 ราตรี เป็นของจำจะสละ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน”
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 10 ( เกี่ยวกับน้อมลาภที่เขาจะถวายสงฆ์มาเพื่อตน )
“อิทัง เม ภันเต ( อาวุโส ) ชานัง สังฆิกัง ลาภัง ปะริณะตัง อัตตะโน ปะริณามิตัง นิสสัคคิยัง อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ”
“ท่านเจ้าข้า ลาภนี้เขาน้อมไปเป็นของถวายสงฆ์ ข้าพเจ้ารู้อยู่ น้อมมาเพื่อตน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละลาภนี้แก่ท่าน”
สมณกัปปะ
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันผลไม้โดย สมณกัปปะ ///// 5 อย่าง คือ
1. ผลไม้ที่ลนด้วยไฟ
2. ผลไม้ที่กรีดด้วยศัสตรา
3. ผลไม้ที่จิกด้วยเล็บ
4. ผลไม้ที่ไม่มีเมล็ด
5. ผลไม้ที่ปล้อนเมล็ดออกแล้ว”
* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก / หัวข้อใหญ่สุด : อริยวินัย ที่มาในพระไตรปิฎกเล่มอื่นๆ / หัวข้อย่อยรองลงมา : ภาคผนวก / หัวข้อย่อยรองลงมา : ภาคผนวก : คำเสียสละของเป็นนิสสัคคีย์
* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย / หน้าที่ : 1,044 , 1,045 , 1,046 , 1,047 , 1,048 , 1,049 , 1,050
- จบ -