อนิยต ( อ่านว่า อะนิยด ) - ไม่แน่นอน , ชื่ออาบัติที่ไม่แน่นอนว่าจะเป็นอาบัติปาราชิก สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ ซึ่งพระวินัยธรจะต้องวินิจฉัย
* * * : ข้างบนนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://dictionary.sanook.com/search/dict-th-th-royal-institute/อนิยต
- - - - - - - - - - - - - - - - - - -
อนิยต คือประเภทของโทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทประเภทกึ่งกลางระหว่างครุกาบัติหรือลหุกาบัติที่เรียกว่า อาบัติอนิยต ซึ่งอาบัตินี้ขึ้นอยู่กับว่าพระวินัยธรจะวินิจฉัยว่าควรจะให้ปรับอาบัติแบบไหนตามแต่จะได้โทษหนักหรือเบาอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีทั้งหมด 2 ประการดังนี้
1. นั่งในที่ลับตากับสตรีสองต่อสอง
2. นั่งในที่ลับหูกับสตรีสองต่อสอง
คำว่า อนิยต แปลว่า อาบัติที่ไม่แน่นอนว่าจะให้ปรับเป็นอาบัติปาราชิก , สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ กล่าวคือเมื่อมีผู้พบเห็นหรือได้ยินว่าพระภิกษุอยู่กับสตรีด้วยกันสองต่อสองโดยที่ไม่มีบุคคลที่สาม ( ชายผู้ที่รู้เดียงสา ) อยู่ด้วย จึงได้ไปรายงานต่อพระวินัยธรให้ได้รับทราบ จากนั้นพระวินัยก็จะทำการไต่สวนกับพระภิกษุผู้ถูกกล่าวหา หากพระภิกษุนั้นยอมรับสารภาพว่าได้กระทำใดๆอย่างใดอย่างหนึ่งกับสตรีที่อยู่ด้วยกันตามที่โจกท์คฤหัสถ์ได้กล่าวหา ทางพระวินัยธรก็จะทำการวินิจฉัยว่าควรจะให้ปรับอาบัติแบบไหนตามแต่หนักหรือเบาตามทางของพระวินัยอย่างใดอย่างหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น
* * * ถ้าพระภิกษุยอมรับว่าเสพเมถุนกับสตรี จึงให้ปรับอาบัติเป็นปาราชิก
* * * ถ้าพระภิกษุยอมรับว่าแตะต้องหรือพูดจาเกี้ยวพาราณาสีกับสตรี จึงให้ปรับอาบัติเป็นสังฆาทิเสส
* * * ถ้าพระภิกษุไม่ได้กระทำใดๆกับสตรี แต่อยู่ด้วยกันสองต่อสอง จึงให้ปรับอาบัติเป็นปาจิตตีย์
* * * : ข้างบนนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/อนิยต
- - - - - - - - - - - - - - - - - - -
- จบ -