Friday, October 14, 2022

ปาริสุทธิ

 




       ปาริสุทธิอุโบสถ อุโบสถที่ภิกษุทำปาริสุทธิ 

       คือแจ้งแต่ความบริสุทธิ์ของกันและกัน ไม่ต้องสวดปาฏิโมกข์ 

       ปาริสุทธิอุโบสถนี้ กระทำเมื่อมีภิกษุอยู่ในวัดเพียงเป็นคณะ คือ 2 - 3 รูป ไม่ครบองค์สงฆ์ 4 รูป 

       ถ้ามีภิกษุ 3 รูปพึงประชุมกันในโรงอุโบสถแล้ว รูปหนึ่งตั้งญัตติดังนี้ : 

       “สุณนฺตุ เม ภนฺเต อายสฺมนฺตา , อชฺชุโปสโถ ปณฺณรโส ยทายสฺมนฺตานํ ปตฺตกลฺลํ , มยํ อญฺญมญฺญํ ปาริสุทฺธิอุโปสถํ กเรยฺยาม”

       แปลว่า: “ท่านทั้งหลาย อุโบสถวันนี้ที่ 15 ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านถึงที่แล้ว เราทั้งหลายพึงทำปาริสุทธิอุโบสถด้วยกัน”  ( ถ้ารูปที่ตั้งญัตติแก่กว่าเพื่อนว่า อาวุโส แทน ภนฺเต , ถ้าเป็นวัน 14 ค่ำ ว่า จาตุทฺทโส แทน ปณฺณรโส ) 

       ภิกษุผู้เถระพึงห่มผ้าเฉวียงบ่านั่งกระหย่งประนมมือ บอกปาริสุทธิว่า :

       “ปริสุทฺโธ อหํ อาวุโส, ปริสุทฺโธ มํ ธาเรถ” ( 3 หน )

       แปลว่า: 

       “ฉันบริสุทธิ์แล้วเธอ ขอเธอทั้งหลายจงจำฉันว่าผู้บริสุทธิ์แล้ว” 


       อีก 2 รูปพึงทำอย่างเดียวกันนั้น ตามลำดับพรรษา 

       คำบอกเปลี่ยนเฉพาะ อาวุโส เป็น ภนฺเต 

       แปลว่า “ผมบริสุทธิ์แล้วขอรับ ขอท่านทั้งหลายจงจำผมว่าผู้บริสุทธิ์แล้ว” 


       ถ้ามี 2 รูป ไม่ต้องตั้งญัตติ พึงบอกปาริสุทธิแก่กัน 

       ผู้แก่กว่า: “ปริสุทโธ อหํ อาวุโส , ปริสุทฺโธติ มํ ธาเรหิ” ( 3 หน ) 

       ผู้อ่อนว่า: “ปริสุทฺโธ อหํ ภนฺเต , ปริสุทฺโธติ มํ ธาเรถ” ( 3 หน )  



* * * : ข้างบนนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%BB%D2%C3%D4%CA%D8%B7%B8%D4%CD%D8%E2%BA%CA%B6    


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  


- จบ -