Thursday, June 30, 2022

วัตตขันธกะ : อาคันตุกวัตร

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง วัตตขันธกะ : อาคันตุกวัตร


อาคันตุกวัตร


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 415 )  


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ อาคันตุกะ /////  คิดว่า จักเข้าไปสู่ อาราม /////  เดี๋ยวนี้ พึงถอดรองเท้า เคาะแล้วถือไปต่ำ ลดร่ม เปิดศีรษะ ลดจีวรบนศีรษะลงไว้ที่บ่า ไม่ต้องรีบร้อน พึงเข้าไปสู่อารามตามปกติ 

       เมื่อเข้าไปสู่อารามพึงสังเกตว่า ภิกษุเจ้าถิ่นประชุมกันที่ไหน ภิกษุเจ้าถิ่นประชุมกันที่ใด คือ ที่โรงฉัน มณฑป /////  หรือโคนไม้ พึงไปที่นั่น

       วางบาตรไว้ที่แห่งหนึ่ง วางจีวรไว้ที่แห่งหนึ่ง พึงถือ อาสนะ /////  ที่สมควรนั่ง

       พึงถามถึงน้ำฉัน พึงถามถึงน้ำใช้ว่า ไหนน้ำฉัน ไหนน้ำใช้ 

       ถ้าต้องการน้ำฉัน พึงตักน้ำฉันหาดื่ม ถ้าต้องการน้ำใช้ พึงตักน้ำใช้มาล้างเท้า เมื่อล้างเท้าพึงรดน้ำด้วยมือข้างหนึ่ง พึงล้างเท้าด้วยมือข้างหนึ่ง รดน้ำด้วยมือใดไม่พึงล้างเท้าด้วยมือนั้น  

       พึงถามถึงผ้าเช็ดรองเท้าแล้วจึงเช็ดรองเท้า เมื่อจะเช็ดรองเท้าพึงใช้ผ้าแห้งเช็ดก่อน ใช้ผ้าเปียกเช็ดทีหลัง พึงซักผ้าเช็ดรองเท้าบิดแล้วผึ่งไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง 

       ถ้าภิกษุเจ้าถิ่นแก่พรรษากว่าพึง อภิวาท ///// ถ้าอ่อนพรรษากว่าพึงให้เธออภิวาท 

       พึงถามถึง เสนาสนะ /////  ว่า เสนาสนะไหนถึงแก่ผม พึงถามถึงเสนาสนะที่มีภิกษุอยู่ หรือที่ไม่มีภิกษุอยู่ พึงถามถึง โคจรคาม /////  พึงถามถึงอโคจรคาม

       พึงถามถึงสกุลทั้งหลายที่ได้รับสมมติว่าเป็น เสกขะ /////  

       พึงถามถึงที่ถ่ายอุจจาระ พึงถามถึงที่ถ่ายปัสสาวะ

       พึงถามถึงน้ำฉัน พึงถามถึงน้ำใช้ 

       พึงถามถึงไม้เท้า

       พึงถามถึงกติกาสงฆ์ที่ตั้งไว้ว่า ควรเข้าเวลาเท่าไร ควรออกเวลาเท่าไร 

       ถ้าวิหารไม่มีภิกษุอยู่พึงเคาะประตูรออยู่สักครู่หนึ่งแล้วถอดลิ่มผลักบานประตู ยืนอยู่ข้างนอกแลดูให้ทั่ว 

       ถ้าวิหารรกหรือเตียงซ้อนอยู่บนเตียง หรือตั่งซ้อนอยู่บนตั่ง เสนาสนะมีละอองจับอยู่เบื้องบน ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงชำระเสีย

       เมื่อจะชำระ วิหาร /////  พึงขนเครื่องลาดพื้นออกไปวางไว้ที่ควรแห่งหนึ่งก่อน 

       พึงขนเขียงรองเท้าเตียงออกไปวางไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง 

       พึงขนฟูกและหมอนออกไปวางไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง 

       พึงขนผ้านิสีทนะและผ้าปูนอนออกไปวางไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง  

       เตียง ตั่ง อันภิกษุพึงยกต่ำๆ ทำให้เรียบร้อย อย่าให้ครูดสีกระทบบานและกรอบประตู ขนไปวางไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง 

       กระโถนพึงขนออกไปวางไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง  

       พนักอิงพึงขนออกไปวางไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง 

       ถ้าในวิหารมีหยากเยื่อ พึงกวาดแต่เพดานลงมาก่อน พึงเช็ด กรอบหน้าต่าง ประตูและมุมห้อง

       ถ้าฝาทาน้ำมันขึ้นรา พึงเอาผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ด ถ้าพื้นทาสีดำขึ้นรา พึงเอาผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ด ถ้าพื้นไม่ได้ทา พึงเอาน้ำพรมแล้วกวาด ด้วยคิดว่าอย่าให้ฝุ่นกลบวิหาร พึงเก็บกวาดหยากเยื่อไปทิ้งเสีย ณ ที่ควรแห่งหนึ่ง 

       เครื่องลาดพื้น พึงผึ่งแดดชำระเคาะปัด แล้วขนกลับไปปูไว้ตามเดิม 

       เขียงรองเท้าเตียงพึงผึ่งแดด ขัด เช็ดแล้วขนกลับตั้งไว้ตามเดิม 

       เตียง ตั่ง /////  พึงผึ่งแดด ขัดสี เคาะ ยกต่ำๆ ทำให้ดี อย่าให้ครูดสีกระทบบานและกรอบประตูขนกลับตั้งไว้ตามเดิม 

       ฟูกและหมอนตากแห้งแล้ว เคาะปัดให้สะอาดขนกลับวางไว้ตามเดิม 

       ผ้าปูนั่งและผ้าปูนอนตากแห้งแล้ว สลัดให้สะอาด ขนกลับปูไว้ตามเดิม 

       กระโถน พนักอิง ตากแล้ว พึงเช็ด ขนกลับไปตั้งไว้ตามเดิม 

       พึงเก็บบาตร จีวร 

       เมื่อเก็บบาตรพึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง แล้วเก็บบาตรแต่อย่าเก็บบาตรบนพื้นที่ปราศจากเครื่องรอง 

       เมื่อเก็บจีวร พึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือ สายระเดียง /////  พึงทำชายไว้ข้างนอก ขนดไว้ข้างใน เก็บจีวร 

       ถ้ามีลมเจือด้วยผงคลีพัดมาทางทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันออก 

       ถ้ามีลมเจือด้วยผงคลีพัดมาทางทิศตะวันตก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันตก 

       ถ้ามีลมเจือด้วยผงคลีพัดมาทางทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ 

       ถ้ามีลมเจือด้วยผงคลีพัดมาทางทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้ 

       ถ้าฤดูหนาว กลางวันพึงเปิดหน้าต่าง กลางคืนพึงปิด  

       ถ้าฤดูร้อนกลางวันพึงปิดหน้าต่าง กลางคืนพึงเปิด 

       ถ้าบริเวณซุ้มน้ำ โรงฉัน โรงไฟ วัจจกุฎี ///// รก พึงปัดกวาดเสีย 

       ถ้าน้ำฉันน้ำใช้ไม่มี พึงจัดตั้งไว้ 

       ถ้าน้ำในหม้อชำระไม่มี  พึงตักน้ำมาไว้ในหม้อชำระ 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็น วัตร /////  ของภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายซึ่งภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายพึงประพฤติเรียบร้อย 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : วัตตขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : วัตตขันธกะ : อาคันตุกวัตร 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 906 , 907 , 908



- จบ -



เสกขะ

 

เสกขะ 


       เสกขะ ( อ่านว่า เสก-ขะ ) - น. ผู้ยังต้องศึกษาอยู่ , พระอริยบุคคลผู้ยังไม่บรรลุพระอรหัต-ผล. เสกขบุคคล 

       ( ศน. ) น. ผู้ยังต้องศึกษา คือ พระอริยบุคคลเบื้องต้น ชื่อว่า พระเสขะ เพราะเป็นผู้ยังต้องปฏิบัติเพื่อมรรคผลเบื้องสูงขึ้นไป  


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       พระเสกขะ ก็คือพระอริยบุคคลตั้งแต่พระโสดาบันจนกระทั่งถึงพระอนาคามี พระอเสกขะ คือ ผู้ที่ไม่ต้องศึกษา เพื่อที่จะประพฤติปฏิบัติขัดเกลากิเลสอีก เพราะเหตุว่าดับกิเลสหมดแล้ว เพราะฉะนั้น พระอเสกขะ ได้แก่ พระอรหันต์   


- จบ -

โคจรคาม

 

โคจรคาม 


       โคจรคาม ( อ่านว่า โค-จะ-ระ-คาม ) - หมู่บ้านที่ภิกษุไปบิณฑบาตเสมอ  


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

โคจรคาม 

       อ่านว่า โค-จะ-ระ-คาม 

       ประกอบด้วย โคจร + คาม 

* * * ( 1 ) “โคจร” 

       บาลีอ่านว่า โค-จะ-ระ รากศัพท์ประกอบด้วย โค + จรฺ ( ธาตุ = เที่ยวไป ) 

       “โค” ในภาษาบาลีมีความหมายหลายอย่าง กล่าวคือ วัว , แผ่นดิน , ดวงอาทิตย์ , อินทรีย์ ( = เครื่องรับอารมณ์ที่มากระทบ เช่น ตา + สิ่งที่ตาเห็น ) 

       : โค + จรฺ = โคจร แปลตามศัพท์ว่า – 

       ( 1 ) “ที่เป็นที่เที่ยวไปแห่งโค” ความหมายเดิมคือท้องทุ่งสำหรับต้อนโคไปหากิน แล้วขยายไปเป็นทุ่งหญ้าสำหรับเลี้ยงสัตว์ทั่วไป และเป็นสำนวนหมายถึง “ออกไปเที่ยวหากิน” ( มักใช้กับสัตว์ ) 


       ( 2 ) “การท่องเที่ยวไปบนแผ่นดิน” หมายถึง การเดินทางเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ 

       ความหมายนี้บางตำราว่าหมายถึง “การเดินทางของดวงอาทิตย์” : โค = ดวงอาทิตย์ 


       ( 3 ) “ที่เหมือนกับที่ท่องเที่ยวไปแห่งโค” คือสถานที่เที่ยวบิณฑบาตของภิกษุ ( เปรียบเหมือนสถานที่ซึ่งโคไปเที่ยวหากิน ) 


       ( 4 ) “ที่เป็นที่เที่ยวไปแห่งอินทรีย์” คือรูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้น อันรวมเรียกว่า “อารมณ์” 


       สรุปว่า “โคจร” หมายถึง อาหาร = การหากิน , การเดินทาง , สถานที่อันควรไป และ อารมณ์ 


       ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของ “โคจร” ไว้ว่า –

       ( 1 ) ( คำนาม ) อารมณ์ เช่น มีพุทธานุสติเป็นโคจร 


       ( 2 ) ( คำกริยา ) เดินไปตามวิถี เช่น ดวงอาทิตย์โคจร ดวงจันทร์โคจรรอบโลก 


       ( 3 ) ( คำกริยา ) เที่ยว เช่น โคจรมาพบกัน 


       ( 4 ) คํานี้โดยมากใช้แก่ดาวนพเคราะห์ , เมื่อว่าเฉพาะทางที่พระอาทิตย์โคจร มีจุดสุดอยู่ 6 แห่งที่อยู่ตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ คือ ครีษมายัน กับ เหมายัน คู่หนึ่ง , วสันตวิษุวัต กับ ศารทวิษุวัต คู่หนึ่ง , พสุสงกรานต์ 2 แห่ง คู่หนึ่ง (ป., ส. โคจร ว่า การเที่ยวไปของดวงอาทิตย์)



* * * ( 2 ) “คาม” 

       บาลีอ่านว่า คา-มะ รากศัพท์มาจาก –

       ( 1 ) คสฺ ( ธาตุ = กิน , มัวเมา ) + ม ปัจจัย, ลบ สฺ ที่สุดธาตุ ( คสฺ > ค ) , ทีฆะ อะ ที่ ค- ( สฺ ) เป็น อา 

       : คสฺ + ม = คสม > คม > คาม แปลตามศัพท์ว่า ( 1 ) “ที่เป็นที่กินอยู่แห่งชาวบ้าน” ( 2 ) “ที่เป็นที่มัวเมาด้วยกามคุณ” 


       ( 2 ) คา ( ธาตุ = ส่งเสียง ) + ม ปัจจัย 

       : คา + ม = คาม แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่ส่งเสียงแห่งชาวบ้าน” 


       ( 3 ) คมฺ ( ธาตุ = ไป ) + ณ ปัจจัย , ลบ ณ , ทีฆะ อะ ที่ ค- ( มฺ ) เป็น อา 

       : คมฺ + ณ = คมณ > คม > คาม แปลตามศัพท์ว่า ( 1 ) “ที่เป็นที่ไปแห่งผู้คน” ( 2 ) “ที่อันผู้ต้องการวัตถุต่างๆ ต้องไป” 

       “คาม” ในบาลีหมายถึง หมู่บ้าน , หมู่บ้านเล็กๆ , สถานที่ที่อาศัยอยู่ได้ , หมู่บ้านซึ่งมีอาณาเขตเป็นส่วนสัดแยกจากท้องที่รอบๆ ( a collection of houses , a hamlet , a parish or village having boundaries & distinct from the surrounding country ) 

       มีคำที่คล้ายกับ “คาม” อีกคำหนึ่ง คือ “เคห” ( เค-หะ ) นักเรียนบาลีแปลกันว่า บ้าน , เรือน แต่ 2 คำนี้ความหมายแตกต่างกัน 

       “เคห” หมายถึงบ้านเป็นหลังๆ คือบ้านแต่ละหลัง หรือคำเก่าเรียกว่า “หลังคาเรือน” 

       “คาม” หมายถึง หมู่บ้าน คือเคหะหรือเรือนหลายๆ หลังรวมกัน 

       พอจะเทียบคำฝรั่งได้ว่า

       – เคหะ = house 

       – คาม = home 

       โคจร + คาม = โคจรคาม แปลตามศัพท์ว่า “หมู่บ้านเป็นที่หากิน” หมายถึง หมู่บ้านที่ภิกษุเที่ยวไปบิณฑบาต (a village for the supply of food for the bhikkhus)

       ในภาษาไทย พจน.54 บอกไว้ว่า –

       “โคจรคาม : ( คำนาม ) หมู่บ้านที่ภิกษุไปบิณฑบาตเสมอ.”  

       “โคจรคาม” ถ้าใช้กับการดำรงชีพของสัตว์ หมายถึงแหล่งที่สัตว์ไปหากิน ถ้าใช้กับวิถีชีวิตของผู้คนก็หมายถึงที่ทำมาหากินหรือแหล่งประกอบอาชีพ  


- จบ -

อภิวาท

 

อภิวาท 


       อภิวาท - การกราบไหว้   


- จบ -

มณฑป

 

มณฑป 


       มณฑป ในสถาปัตยกรรมไทยคือ เรือนยอดหรือเครื่องยอดหลังคาขนาดใหญ่มีรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือเป็นรูปตัด มุม หรือย่อไม้แปด ย่อไม้สิบสอง ยอดหลังคาเป็นทรงจอมแห

       ส่วนมณฑปในสถาปัตยกรรมโบสถ์พราหมณ์หมายถึงห้องหนึ่งของโบสถ์พราหมณ์ที่มีลักษณะเป็นระเบียง ทะลุผ่านเข้ามาจากโคปุรัม ( หอทางเข้า ) และนำพาเข้าไปในตัววัด โดยทั่วไปส่วนนี้ใช้สำหรับประกอบพิธีกรรมที่เป็นการร่ายรำและนาฏกรรม นับเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของทุกโบสถ์พราหมณ์  โดยทั่วไปส่วนนี้จะเชื่อมกับส่วนที่ใช้ในการสวดมนต์และสักการะองค์เทพฮินดู ซึ่งต่อเข้ากับส่วนครรภคฤห์ ที่ปกติไม่ได้เปิดให้คนทั่วไปเข้า 

       ในโบสถ์พราหมณ์ใหญ่ ๆ มักมีกมณฑปหลายหลัง ซึ่งจะสร้างให้สอดรับกับการใช้งานที่ต่างกัน เช่น "กัลยาณมณฆป" คือมณฑปสำหรับจำพิธีมงคลสมรส เป็นต้น ทั่วไปแล้วเสาขแงมณฑปนั้นจะแกะสลักอย่างวิจิตร


ในภาษาต่างๆ 

       มณฑป แผลงมาจากคำภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต  ซึ่งพบคำที่มีรากมาจากคำเดียวกันในภาษาต่าง ๆ ในภูมิภาคเดียวกัน เช่น

* * * ภาษาอินโดนีเซียและภาษามลายู เรียกว่า เปินดาปา ( อินโดนีเซีย: Pendhapa; ชวา: ꦥꦼꦤ꧀ꦝꦥ) เป็นลักษณะศาลาที่มีหลังควากว้าง ลักษณะเฉพาะของสถาปัตยกรรมชวา 

* * * ภาษาทมิฬ เรียกว่า "อัยยิราม กาล มันทปาม" ( Aayiram Kaal Mandapam ) มีลักษณะเป็นโถงยาวประกอบด้วยเสาจำนวนนับพันเสา คล้ายกับวิมานในสถาปัตยกรรมดราวิเดียน 

* * * ภาษาพม่า เรียกว่า "มันดัต" หมายถึงศาลาเปิดคล้ายศาลาไทย  


- จบ -

Wednesday, June 29, 2022

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง ขันธ์ที่ 4 : วัตตขันธกะ
 



ขันธ์ที่ 4 : วัตตขันธกะ 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 414 )  


       540. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติ วัตร /////  แก่ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลาย โดยประการที่ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายจะพึงประพฤติเรียบร้อย 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : วัตตขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : วัตตขันธกะ 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 906



- จบ -

วัตร

 

วัตร 


       วัตร หมายถึงกิจพึงกระทำ , หน้าที่ , ขนบธรรมเนียม , ประเพณี , การประพฤติ , การปฏิบัติ แบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 3 อย่าง คือ 

       กิจวัตร - คือหน้าที่ที่ควรทำ เช่นหน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อพระอุปัชฌาย์ ต่ออาจารย์


       จริยาวัตร - คือมารยาทที่พึงปฏิบัติ เช่นมารยาทในการขอบฉัน มารยาทในการจำวัด เป็นต้น 


       วิธีวัตร - คือแบบแผนที่พึงปฏิบัติให้ถูกต้อง เช่นวิธีครองผ้า วิธีใช้และเก็บบาตร วิธีพับเก็บจีวรเป็นต้น 


       วัตร เป็นธรรมเนียมที่พระสงฆ์ปฏิบัติให้เป็นแบบเดียวกันและสม่ำเสมอ แสดงถึงฐานะและความเป็นเอกภาพ อันนำมาซึ่งความเลื่อมใสแก่ผู้พบเห็น 


- จบ -

สังฆเภทขันธกะ : ผู้ทำลายสงฆ์ไม่ต้องเกิดในอบาย

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง สังฆเภทขันธกะ : ผู้ทำลายสงฆ์ไม่ต้องเกิดในอบาย
 



ผู้ทำลายสงฆ์ไม่ต้องเกิดในอบาย


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 412 )  


       …ดูกรอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม 

       มีความเห็นในอธรรมนั้นว่าเป็นธรรม  

       มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นธรรม 

       ไม่อำพรางความเห็น

       ไม่อำพรางความถูกใจ 

       ไม่อำพรางความชอบใจ 

       ไม่อำพรางความจริง 

       ย่อมประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้ สัตถุศาสน์ /////  ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้ 


       ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ไม่ต้องเกิดในอบาย ไม่ตกนรกอยู่ชั่วกัป พอช่วยเหลือได้ 



       อนึ่ง อุบาลี ภิกษุย่อมแสดงธรรมว่าเป็นอธรรม …

       ย่อมแสดง อาบัติชั่วหยาบ ///// ว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ 

       มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นธรรม 

       มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นธรรม 

       ไม่อำพรางความเห็น 

       ไม่อำพรางความถูกใจ 

       ไม่อำพรางความชอบใจ 

       ไม่อำพรางความจริง 

       ย่อมประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลาย จงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้ 


       ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ไม่ต้องเกิดในอบาย ไม่ตกนรกอยู่ชั่วกัป พอช่วยเหลือได้ 



- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

สังฆเภทขันธกะ จบ  



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 3 : สังฆเภทขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : สังฆเภทขันธกะ : ผู้ทำลายสงฆ์ไม่ต้องเกิดในอบาย 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 905
 


- จบ -

สังฆเภทขันธกะ : ผู้ทำลายสงฆ์ต้องเกิดในอบาย

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง สังฆเภทขันธกะ : ผู้ทำลายสงฆ์ต้องเกิดในอบาย
 



ผู้ทำลายสงฆ์ต้องเกิดในอบาย 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 411 )  


       มีหรือ พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้ 

       มี อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้ 


       และมีหรือ พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ต้องเกิดในอบาย ไม่ตกนรก อยู่ชั่วกัป พอช่วยเหลือได้ 

       มี อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ต้องเกิดในอบาย ไม่ตกนรกอยู่ชั่วกัป พอช่วยเหลือได้ 


       พระพุทธเจ้าข้า ก็ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ต้องเกิดในอบาย ตกนรกอยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้ เป็นไฉน 

       ดูกรอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นอธรรม มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นอธรรม อำพรางความเห็น อำพรางความถูกใจ อำพรางความชอบใจ อำพรางความจริง ย่อมประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้ สัตถุศาสน์ /////  ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้

       ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ต้องเกิดในอบาย ตกนรกอยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้


       อนึ่ง อุบาลี ภิกษุย่อมแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นอธรรม มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นธรรม อำพรางความเห็น อำพรางความถูกใจ อำพรางความชอบใจ อำพรางความจริง ย่อมประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้

       ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นี้แล ต้องเกิดในอบายตกนรก อยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้ 


       อนึ่ง อุบาลี ภิกษุย่อมแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นอธรรม มีความสงสัยในความแตกกัน อำพรางความเห็น อำพรางความถูกใจ อำพรางความชอบใจ อำพรางความจริง ย่อมประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้

       ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ต้องเกิดในอบาย ตกนรกอยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้ 


       อนึ่ง อุบาลี ภิกษุย่อมแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม มีความเห็นในอธรรมนั้นว่าเป็นธรรม มีความเห็นในการแตกกันว่าเป็นอธรรม …

       … มีความเห็นในอธรรมนั้นว่าเป็นธรรม มีความสงสัยในความแตกกัน … 

       … มีความสงสัยในอธรรมนั้น มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็น อธรรม …

       … มีความสงสัยในอธรรมนั้น มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นธรรม …

       … มีความสงสัยในอธรรมนั้น มีความสงสัยในความแตกกัน อำพรางความเห็น อำพรางความถูกใจ อำพรางความชอบใจ อำพรางความจริง ย่อมประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้ 

       ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ต้องเกิดในอบาย ตกนรกอยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้ 


       อนึ่ง อุบาลี ภิกษุย่อมแสดงธรรมว่าเป็นอธรรม … 

       ย่อมแสดงสิ่งมิใช่วินัยว่าเป็นวินัย 

       ย่อมแสดงวินัยว่ามิใช่วินัย 

       ย่อมแสดงคำอันตถาคตมิได้ตรัสภาษิตไว้ว่าเป็นคำอันตถาคตตรัสภาษิตไว้ 

       ย่อมแสดงคำอันตถาคตตรัสภาษิตไว้ว่าเป็นคำอันตถาคตมิได้ตรัสภาษิตไว้ 

       ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตมิได้ประพฤติมาว่าเป็นกรรมอันตถาคตประพฤติมาแล้ว

       ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตประพฤติมาแล้ว ว่าเป็นกรรมอันตถาคตมิได้ประพฤติมาแล้ว 

       ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้ว่าเป็นสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ 

       ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ว่าเป็นสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้ 

       ย่ย่อมแสดง อนาบัติ /////  ว่าเป็น อาบัติ /////  

       ย่อมแสดงอาบัติว่าเป็นอนาบัติ 

       อมแสดง อาบัติเบา ///// ว่าเป็น อาบัติหนัก /////  

       ย่อมแสดงอาบัติหนักว่าเป็นอาบัติเบา 

       ย่อมแสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่าเป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ 

       ย่อมแสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ว่าเป็นอาบัติมีส่วนเหลือ 

       ย่อมแสดง อาบัติชั่วหยาบ /////  ว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ 

       ย่อมแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ 

       มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นอธรรม 

       มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นอธรรม 

       มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นอธรรม 

       มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นธรรม 

       มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นอธรรม 

       มีความสงสัยในความแตกกัน  

       มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นธรรม 

       มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นอธรรม  

       มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นธรรม 

       มีความสงสัยในความแตกกัน มีความสงสัยในธรรมนั้น 

       มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นอธรรม มีความสงสัยในธรรมนั้น 

       มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นธรรม มีความสงสัยในธรรมนั้น  

       มีความสงสัยในความแตกกัน 

       อำพรางความเห็น 

       อำพรางความถูกใจ 

       อำพรางความชอบใจ 

       อำพรางความจริง 

       ย่อมประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรมนี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้ 


       ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ต้องเกิดในอบาย ตกนรกอยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้ 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 3 : สังฆเภทขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : สังฆเภทขันธกะ : ผู้ทำลายสงฆ์ต้องเกิดในอบาย 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 903 , 904 , 905 



- จบ -

สังฆเภทขันธกะ : สังฆสามัคคี

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง สังฆเภทขันธกะ : สังฆสามัคคี



สังฆสามัคคี


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 406 )  


       พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ตรัสว่า สังฆสามัคคี สังฆสามัคคี ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรสงฆ์จึงพร้อมเพรียงกัน 

       ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ 

       1. ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่เป็นธรรมว่า ไม่เป็นธรรม 

       2. ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นธรรมว่า เป็นธรรม 

       3. ย่อมแสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่า มิใช่วินัย 

       4. ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นวินัยว่า เป็นวินัย 

       5. ย่อมแสดงคำอันตถาคตมิได้ตรัสภาษิตไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตมิได้ ตรัสภาษิตไว้ 

       6. ย่อมแสดงคำอันตถาคต ตรัสภาษิตไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตตรัสภาษิตไว้  

       7. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตมิได้ประพฤติมาว่า เป็นกรรมอันตถาคต มิได้ประพฤติมา 

       8. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตประพฤติมาแล้วว่า เป็นกรรมอันตถาคต ประพฤติมาแล้ว 

       9. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคต มิได้บัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้ 

       10. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ 

       11. ย่อมแสดง อนาบัติ /////  ว่า เป็นอนาบัติ 

       12. ย่อมแสดง อาบัติ /////   ว่า เป็นอาบัติ 

       13. ย่อมแสดง อาบัติเบา ///// ว่า เป็นอาบัติเบา 

       14. ย่อมแสดง อาบัติหนัก ///// ว่า เป็นอาบัติหนัก 

       15. ย่อมแสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ 

       16. ย่อมแสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ว่า เป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ 

       17. ย่อมแสดง อาบัติชั่วหยาบ ///// ว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ 

       18. ย่อมแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ 

       พวกเธอย่อมไม่ประกาศให้แตกแยกกันด้วยวัตถุ 18 ประการนี้ ย่อมไม่แยก ทำอุโบสถ /////  ย่อมไม่แยก ทำปวารณา /////  ย่อมไม่แยก ทำสังฆกรรม /////

       ดูกรอุบาลี ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล สงฆ์เป็นอันพร้อมเพรียงกัน 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 407 )  


       พระพุทธเจ้าข้า ก็ภิกษุนั้นทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันแล้ว จะได้รับผลอย่างไร 

       ดูกรอุบาลี ภิกษุทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันแล้ว ย่อมได้รับผลชั่วร้ายตั้งอยู่ชั่วกัป ย่อมไหม้ในนรกตลอดกัป 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 408 )  


       ภิกษุทำลายสงฆ์ ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ชั่วกัป 

       ภิกษุผู้ยินดีในการแตกพวก ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมเสื่อมจากธรรมอันเกษมจากโยคะ 

       ภิกษุทำลายสงฆ์ ผู้พร้อมเพรียงกันแล้ว ย่อมไหม้ในนรกตลอดกัป 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 409 )  


       พระพุทธเจ้าข้า ก็ภิกษุสมานสงฆ์ที่แตกกันแล้วให้พร้อมเพรียงกัน จะได้รับผลอย่างไร 

       ดูกรอุบาลี ภิกษุสมานสงฆ์ที่แตกกันแล้วให้พร้อมเพรียงกัน ย่อมได้บุญอันประเสริฐ ย่อมบรรเทิงในสรวงสวรรค์ตลอดกัป



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 410 )  


       ความพร้อมเพรียงของหมู่เป็นเหตุแห่งสุข และการสนับสนุนผู้พร้อมเพรียงกันก็เป็นเหตุแห่งสุข

       ภิกษุผู้ยินดีในความพร้อมเพรียงตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่เสื่อมจากธรรมอันเกษมจากโยคะ 

       ภิกษุสมานสงฆ์ให้พร้อมเพรียงกันแล้ว ย่อมบรรเทิงในสรวงสวรรค์ตลอดกัป 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 3 : สังฆเภทขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : สังฆเภทขันธกะ : สังฆสามัคคี 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 901 , 902



- จบ -

Tuesday, June 28, 2022

สังฆเภทขันธกะ : สังฆเภท

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง สังฆเภทขันธกะ : สังฆเภท
 



สังฆเภท


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 405 )  


       พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ตรัสว่า สังฆเภท สังฆเภท ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรสงฆ์จึงแตก 

       ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ 

       1. ย่อมแสดงอธรรมว่า เป็นธรรม 

       2. ย่อมแสดงธรรมว่า เป็นอธรรม 

       3. ย่อมแสดงสิ่งไม่เป็นวินัยว่า เป็นวินัย 

       4. ย่อมแสดงวินัยว่า ไม่เป็นวินัย 

       5. ย่อมแสดงคำอันตถาคตมิได้ตรัสภาษิตไว้ว่าเป็นคำอันตถาคตตรัสภาษิตไว้ 

       6. ย่อมแสดงคำอันตถาคตตรัสภาษิตไว้ว่าเป็นคำอันตถาคตมิได้ตรัสภาษิตไว้ 

       7. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตมิได้ประพฤติมาว่าเป็นกรรมอันตถาคตประพฤติมา 

       8. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตประพฤติมาว่าเป็นกรรมอันตถาคตมิได้ประพฤติมา 

       9. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้ว่าเป็นสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ 

       10. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ว่าเป็นสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้ 

       11. ย่อมแสดง อนาบัติ /////  ว่าเป็น อาบัติ /////  

       12. ย่อมแสดงอาบัติว่าเป็นอนาบัติ 

       13. ย่อมแสดง อาบัติเบา ///// ว่าเป็น อาบัติหนัก /////  

       14. ย่อมแสดงอาบัติหนักว่าเป็นอาบัติเบา 

       15. ย่อมแสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่าเป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ 

       16. ย่อมแสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ว่าเป็นอาบัติมีส่วนเหลือ

       17. ย่อมแสดง อาบัติชั่วหยาบ ///// ว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ 

       18. ย่อมแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ 

       พวกเธอย่อมประกาศให้แตกแยกกัน ด้วยวัตถุ 18 ประการนี้ ย่อมแยก ทำอุโบสถ /////  แยก ทำปวารณา /////   แยก ทำสังฆกรรม /////  


       ดูกรอุบาลี ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล สงฆ์เป็นอันแตกกันแล้ว  



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 3 : สังฆเภทขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : สังฆเภทขันธกะ : สังฆเภท 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 900 , 901  



- จบ -

สังฆกรรม-ทำสังฆกรรม

 

สังฆกรรม-ทำสังฆกรรม  


       สังฆกรรม แปลว่า กรรมอันสงฆ์พึงทำ หมายถึงกิจกรรมทางพระวินัยที่ภิกษุจำนวน 4 รูปขึ้นไปซึ่งถือว่าเป็นสงฆ์จะพึงร่วมกันทำเป็นสังฆสามัคคี ในการทำสงฆ์จะต้องพร้อมเพรียงกันทำ ต้องทำในเขตสีมาที่เรียกว่าอุโบสถหรือโบสถ์ ต้องนั่งให้ได้หัตถบาทอยู่ในที่ประชุมตลอดเวลาที่ทำ เวลามีมติต้องเป็นเอกฉันท์โดยใช้วิธีเงียบหรือรับว่าสาธุ และเป็นไปโดยถูกต้องเป็นธรรม ไม่มีอคติ เช่นนี้จึงจะเป็นสังฆกรรมแท้ 

       สังฆกรรม ตามพระธรรมวินัย มี 4 อย่าง คือ

       1. อปโลกนกรรม การปรึกษาหารือ 

       2. ญัตติ สวดเผดียงสงฆ์ ( การประชุมที่มีการสวดตั้งเรื่องที่จะประชุม ) เช่นการสวดพระปาฏิโมกข์ 

       3. ญัตติทุติยกรรมวาจา สวดตั้งญัตติ และสวดอนุสาวนา ( ถามความเห็นที่ประชุม ) เช่น การสวดกฐิน 

       4. ญัตติจตุตถกรรมวาจา สวดตั้งญัตติและสวดกรรมวาจาถงสามครั้ง เช่น การให้อุปสมบท 


       คนทั่วไปนำเอาคำ “สังฆกรรม” มาใช้ในความหมายว่า “การร่วมกันกระทำกิจกรรม” กล่าวเข้าใจง่ายๆก็คือการที่ไม่มีใครคบค้าสมาคมด้วยหรือไม่มีใครอยากร่วมสังสรรค์ด้วย เรียกว่า “ไม่ร่วมสังฆกรรม” ถ้าเป็นภาษาอังกฤษทางวิชาการด้านสังคมและเศรษฐกิจทั่วๆ ไปจะหมายถึง Boycott ซึ่งภาษาไทยอีกคำหนึ่งแปลว่า “คว่ำบาตร” ซึ่งก็มีที่มาจากเรื่องทางพุทธศาสนาเช่นกัน  


- จบ -

ปวารณา-ทำปวารณา

 

ปวารณา-ทำปวารณา


       ทำปวารณา - คำว่าปวารณา หมายถึง

* * * ยอมให้ภิกษุสามเณรขอหรือเรียกร้องเอาได้ เช่น ขอของจากผู้ปวารณา ใบปวารณา 


* * * บอกยอมให้ใช้ได้ด้วยความเต็มใจ เช่น ขอปวารณาจะใช้อะไรก็บอก


* * * พิธีกรรมทางศาสนายอมให้สงฆ์ว่ากล่าวตักเตือนได้ ทําในวันขึ้น 15 คํ่า เดือน 11 ซึ่งเป็นวันออกพรรษา เรียกวันออกพรรษาว่า วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา   


- จบ -

อุโบสถ-ทำอุโบสถ

 

อุโบสถ/ทำอุโบสถ


       ทำอุโบสถ - ฟังสวดพระปาติโมกข์ มีพระพุทธบัญญัติว่าทุกๆ 15 วัน พระภิกษุในวัดทุกรูปจะต้องลงประชุมกันในโบสถ์ ( ในกรณีจำเป็นอาจประชุมที่อื่นได้ ) ก่อนเข้าประชุมต้องปลงอาบัติที่ตนละเมิดในรอบ 15 วันนั้นก่อน เมื่อที่ประชุมพร้อมกันแล้วพระภิกษุรูปหนึ่งสวดพระวินัย   



- จบ -

อาบัติชั่วหยาบ

 

อาบัติชั่วหยาบ


       อาบัติที่ชื่อว่า ชั่วหยาบ ได้แก่ ปาราชิก 4  /////  และ สังฆาทิเสส 13  /////  


- จบ -

อาบัติหนัก

 

อาบัติหนัก 


       อาบัติหนัก หรือ ครุกาบัติ หมายถึง อาบัติที่มีโทษร้ายแรง มี 2 อย่างคือ อาบัติปาราชิก /////  อาบัติสังฆาทิเสส /////  


- จบ -

อาบัติเบา

 

อาบัติเบา 


       อาบัติเบา หรือ ลหุกาบัติ หมายถึง อาบัติที่ไม่มีโทษร้ายแรงเท่าครุกาบัติ มี 5 อย่าง คือ อาบัติถุลลัจจัย /////  อาบัติปาจิตตีย์ /////  อาบัติปาฏิเทสนียะ /////  อาบัติทุกกฎ /////  อาบัติทุพภาสิต /////   


- จบ -

อนาบัติ

 

อนาบัติ 



       อนาบัติ ความหมาย คือ ไม่เป็นอาบัติ  



- จบ -

Monday, June 27, 2022

สังฆเภทขันธกะ : สังฆราชี

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง สังฆเภทขันธกะ : สังฆราชี
 



สังฆราชี


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 404 )  

       พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ตรัสว่า สังฆราชี สังฆราชี ดังนี้ 

       ด้วยเหตุเพียงเท่าไรเป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท

       ด้วยเหตุเพียงเท่าไร เป็นทั้งสังฆราชี และสังฆเภท 


       ดูกรอุบาลี ฝ่ายหนึ่งมีภิกษุหนึ่งรูป ฝ่ายหนึ่งมี 2 รูป 

       รูปที่ 4 ประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้ สัตถุศาสน์ /////  ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้

       ดูกรอุบาลี แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ เป็น สังฆราชี ///// แต่ไม่เป็น สังฆเภท /////  



       ดูกรอุบาลี ฝ่ายหนึ่งมี ภิกษุ 2 รูป /////  ฝ่ายหนึ่งก็มี 2 รูป

       รูปที่ 5 ประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้ 

       ดูกรอุบาลี แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ก็เป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท 



       ดูกรอุบาลี ฝ่ายหนึ่งมีภิกษุ 2 รูป ฝ่ายหนึ่งมี 3 รูป 

       รูปที่ 6 ประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้ 

       ดูกรอุบาลี แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ก็เป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท 



       ดูกรอุบาลี ฝ่ายหนึ่งมีภิกษุ 3 รูป ฝ่ายหนึ่งก็มี 3 รูป  

       รูปที่ 7 ประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้ 

       ดูกรอุบาลี แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ก็เป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท 



       ดูกรอุบาลี ฝ่ายหนึ่งมีภิกษุ 3 รูป ฝ่ายหนึ่งก็มี 3 รูป  

       รูปที่ 7 ประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้  

       ดูกรอุบาลี แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ก็เป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท 



       ดูกรอุบาลี ฝ่ายหนึ่งมีภิกษุ 3 รูป ฝ่ายหนึ่งมี 4 รูป 

       รูปที่ 8 ประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้ 

       ดูกรอุบาลี แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ก็เป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท 



       ดูกรอุบาลี ฝ่ายหนึ่งมีภิกษุ 4 รูป ฝ่ายหนึ่งมี 4 รูป 

       รูปที่ 9 ประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้ 

       ดูกรอุบาลี แม้ด้วยเหตุอย่างนี้แล เป็นทั้งสังฆราชี และสังฆเภท 



       ดูกรอุบาลี ภิกษุ 9 รูป หรือเกินกว่า 9 รูป เป็นทั้งสังฆราชี และสังฆเภท 



       ดูกรอุบาลี ภิกษุณี /////  ทำลายสงฆ์ย่อมไม่ได้ แต่พยายามเพื่อจะทำลายได้ 


       สิกขมานา /////  ก็ทำลายสงฆ์ไม่ได้ … 


       สามเณร /////  ก็ทำลายสงฆ์ไม่ได้ … 


       สามเณรี /////  ก็ทำลายสงฆ์ไม่ได้ … 


       อุบาสก /////  ก็ทำลายสงฆ์ไม่ได้ … 


       อุบาสิกา /////  ก็ทำลายสงฆ์ไม่ได้แต่พยายามเพื่อจะทำลายได้ 


       ดูกรอุบาลี ภิกษุปกตัตตะ /////  มี สังวาส /////  เสมอกัน อยู่ในสีมาเดียวกันย่อมทำลายสงฆ์ได้  




* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 3 : สังฆเภทขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : สังฆเภทขันธกะ : สังฆราชี 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 898 , 899 , 900



- จบ -

อุบาสิกา

 

อุบาสิกา


       อุบาสิกา - คฤหัสถ์ผู้หญิงที่นับถือพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง  



- จบ -

อุบาสก

 

อุบาสก 



       อุบาสก - คฤหัสถ์ผู้ชายที่นับถือพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง   



- จบ -

สามเณรี

 

สามเณรี 



สามเณรี 

       ทรงอนุญาตหให้ภิกษุณีบวชกุมารีที่มีอายุยังไม่ครบอุปสมบทเป็นสามเณรี 

       สามเณรีนั้นเมื่อมีอายุจวนจะอุปสมบทได้ ให้รับสิกขาสมมติแต่ภิกษุณีสงฆ์แล้ว รักษาสิกขาบท 6 ประการตั้งแต่ปาณาติบาต ถึงวิกาลโภชนะให้ครบ 2 ปีก่อน จึงจะอุปสมบทได้

       สามเณรีได้รับสิกขาสมมติอย่างนี้ เรียกว่า “สิกขมานา” 

       ในระหว่าง 2 ปีนั้น ถ้าล่วงสิกขาบท 6 นั้นแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องนับวันตั้งต้นไปใหม่ 

       ส่วนสิกขาบทของสามเณรีอีก 4 ข้อนั้น ก็ต้องรักษาเหมือนกัน แต่ไม่กวดขันเหมือนสิกขาบท 6 ข้อนั้น 


       สตรีที่ได้ความเชื่อความเลื่อมใสออกบวชเป็นภิกษุณี ได้บรรลุพระอรหัตต์ ซึ่งจัดเป็นสาวิกาผู้ใหญ่นั้นมีจำนวน 13 รูป 

       1. นางมหาปชาบดีโคตมี  

       2. นางเขมา

       3. นางอุบลวรรณา 

       4. นางปฏาจารา 

       5. นางธัมมทินนา 

       6. นางนันทา 

       7. นางโสภา 

       8. นางพกุลา 

       9. นางภัททา กุณฑลเกสี 

       10. นางภัททกาปิลานี 

       11. นางภัททากัจจานา 

       12. นางกิสาโคตรมี 

       13. นางสิคาลมาตา 


- จบ -

สามเณร

 

สามเณร



       สามเณร และ สามเณรี แปลว่า เหล่ากอของสมณะ , หน่อเนื้อของสมณะ หมายถึงนักบวชชายในพระพุทธศาสนาที่มีอายุน้อย ยังมิได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ถ้าเป็นนักบวชหญิงอายุน้อยเรียกว่า สามเณรี 

       คำว่า สามเณร สามเณรี เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา เป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่สาธารณะทั่วไป 

       ผู้ที่จะบวชเป็นสามเณรสามเณรีได้นั้นทางพระวินัยกำหนดอายุอย่างต่ำไว้ประมาณ 7 ขวบซึ่งพอช่วยเหลือตัวเองได้ พระวินัยระบุว่าพอจะไล่กาไล่ไก่ได้ ส่วนสูงไม่มีกำหนดไว้ ผู้มีอายุไม่เกิน 20 ปีจะบวชเป็นสามเณรตลอดไป ไม่บวชเป็นภิกษุก็ได้ 


ศีลของสามเณร 

       พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท 10 ของสามเณรคือ 

       1. เว้นจากการไม่ฆ่าสัตว์ 

       2. เว้นจากลักทรัพย์ 

       3. เว้นจากประพฤติล่วงพรหมจรรย์  

       4. เว้นจากพูดเท็จ 

       5. เว้นจากดื่มสุราเมรัย 

       6. เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล ( เที่ยงไปแล้ว ) 

       7. เว้นจากฟ้อนรำขับร้องประโคมและการดูมหรสพ 

       8. เว้นจากทัดทรงตกแต่งประดับประดาร่างกายด้วยดอกไม้ของ เครื่องทา เครื่องย้อมผัดผิว 

       9. เว้นจากที่นั้งที่นอนอันสูงใหญ่ ( คือเว้นจากนั้งนอนเหนือเตียงตั่งมีเท้าสูงเกินประมาณและที่นั่งที่นอนอันใหญ่มีภายในใส่นุ่นและสำลี ) 

       10. เว้นจาการรับเงินทอง



การให้สามเณรสึก 

       สามเณรของพระอุปนนทะ ศากยบุตร ประทุษร้าย ( ข่มขืน ) นางภิกษุณี ภิกษุทั้งหลายติเตียน พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงอนุญาตให้นาสนะ ( ไล่สึก ) สามเณรผู้ประกอบด้วยองค์ 10 คือ 

       1. ฆ่าสัตว์ 

       2. ลักทรัพย์ 

       3. เสพเมถุน 

       4. พูดปด 

       5. ดื่มสุราเมรัย 

       6. ติเตียน พระพุทธ 

       7. ติเตียน พระธรรม 

       8. ติเตียน พระสงฆ์ 

       9. มีความเห็นผิด 

       10. ประทุษร้าย ( ข่มขืน ) นางภิกษุณี  


- จบ -

ภิกษุณี

 

ภิกษุณี


       ภิกษุณี ( บาลี: ภิกฺขุณี; สันสกฤต: ภิกฺษุณี ) เป็นคำใช้เรียกนักพรตหญิงในศาสนาพุทธ คู่กับภิกษุที่หมายถึงนักพรตชายในพระพุทธศาสนา คำว่า ภิกษุณี เป็นศัพท์ที่มีเฉพาะในพระพุทธศาสนา โดยเป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชหญิงในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่ใช้เรียกนักบวชในศาสนาอื่น 

       ภิกษุณี หรือ ภิกษุณีสงฆ์ จัดตั้งขึ้นโดยพระบรมพุทธานุญาต ภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนาคือพระนางมหาปชาบดีโคตมีเถรี โดยวิธีรับคุรุธรรม 8 ประการ ในคัมภีร์เถรวาทระบุว่าต่อมาในภายหลังพระพุทธเจ้าได้ทรงอนุญาตวิธีการอุปสมบทภิกษุณีให้มีรายละเอียดเพิ่มมากขึ้น จนศีลของพระภิกษุณีมีมากกว่าพระภิกษุ โดยพระภิกษุณีมีศีล 311 ข้อ ในขณะที่พระภิกษุมีศีลเพียง 227 ข้อเท่านั้น เนื่องจากในสมัยพุทธกาลไม่เคยมีศาสนาใดอนุญาตให้ผู้หญิงเข้ามาเป็นนักบวชมาก่อน และการตั้งภิกษุณีสงฆ์ควบคู่กับภิกษุสงฆ์อาจเกิดข้อครหาที่จะเป็นอันตรายร้ายแรงต่อการประพฤติพรหมจรรย์และพระพุทธศาสนาได้ หากได้บุคคลที่ไม่มีความมั่นคงในพระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นนักบวช 

       จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ไม่ปรากฏว่ามีการตั้งวงศ์ภิกษุณีเถรวาทขึ้นในประเทศไทย อย่างไรก็ตามในประเทศพุทธเถรวาทที่เคยมี2หรือไม่เคยมีวงศ์ภิกษุณีสงฆ์ในปัจจุบัน3 ต่างก็นับถือกันโดยพฤตินัยว่าการที่อุบาสิกาที่มีศรัทธาโกนศีรษะนุ่งขาวห่มขาว ถือปฏิบัติศีล 8 ( อุโบสถศีล ) ซึ่งเรียกโดยทั่วไปว่า แม่ชี เป็นการผ่อนผันผู้หญิงที่ศรัทธาจะออกบวชเป็นภิกษุณีเถรวาท แต่ไม่สามารถอุปสมบทเป็นภิกษุณีเถรวาทได้  โดยส่วนใหญ่แม่ชีเหล่านี้จะอยู่ในสำนักวัดซึ่งแยกเป็นเอกเทศจากกุฎิสงฆ์ 

       ภิกษุณีสายเถรวาทซึ่งสืบวงศ์มาแต่สมัยพุทธกาลด้วยการบวชถูกต้องตามพระวินัยปิฎกเถรวาท ที่ต้องบวชในสงฆ์สองฝ่ายคือทั้งภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ ได้ขาดสูญวงศ์ ( ไม่มีผู้สืบต่อ ) มานานแล้ว คงเหลือแต่ภิกษุณีฝ่ายมหายาน ( อาจริยวาท ) ที่ยังสืบทอดการบวชภิกษุณีแบบมหายาน ( บวชในสงฆ์ฝ่ายเดียว ) มาจนปัจจุบัน ซึ่งจะพบได้ในประเทศจีน , เกาหลีใต้ , ญี่ปุ่น และศรีลังกา

       ปัจจุบันมีการพยายามรื้อฟื้นการบวชภิกษุณีในฝ่ายเถรวาท โดยทำการบวชมาจากภิกษุณีมหายาน และกล่าวว่าภิกษุณีฝ่ายมหายานนั้น สืบวงศ์ภิกษุณีสงฆ์มาแต่ฝ่ายเถรวาทเช่นกัน แต่มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าฝ่ายมหายานมีการบวชภิกษุณีสืบวงศ์มาโดยมิได้กระทำถูกตามพระวินัยปิฎกเถรวาท และมีศีลที่แตกต่างกันอย่างมากด้วย ทำให้มีการไม่ยอมรับภิกษุณี ( เถรวาท ) ใหม่ ที่บวชมาแต่มหายานว่า มิได้เป็นภิกษุณีที่ถูกต้องตามพระวินัยปิฎกเถรวาท และมีการยกประเด็นนี้ขึ้นเป็นข้ออ้างว่าพระพุทธศาสนาจำกัดสิทธิสตรีด้วย ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เพราะพระพุทธเจ้าได้อนุญาตให้มีภิกษุณีที่นับเป็นการเปิดโอกาสให้มีนักบวชหญิงเป็นศาสนาแรกในโลก เพียงแต่การสืบทอดวงศ์ภิกษุณีได้สูญไปนานแล้ว จึงทำให้ในปัจจุบันไม่สามารถบวชสตรีเป็นภิกษุณีตามพระวินัยเถรวาทได้   


ประวัติการเกิดภิกษุณีสงฆ์ 

       แต่เดิมพระโคตมพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้มีภิกษุณีได้ เนื่องจากเห็นว่าจะทำให้อายุของพระพุทธศาสนาไม่ยั่งยืน 

       ต่อมาพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี ผู้เป็นพระน้านางและพระมาตุจฉา หรือพระมารดาเลี้ยงของเจ้าชายสิทธัตถะ ท่านได้มีศรัทธาอยากออกบวชจึงทูลอ้อนวอนขอบวชต่อพระพุทธเจ้าถึงสามครั้งสามครา แต่ก็ไม่เป็นผล จนกระทั่งพระอานนท์ได้ทูลขอให้ พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาต โดยมีเงื่อนไขว่า พระนางปชาบดีโคตมีจะต้องรับเอาครุธรรมแปดประการ ( แปลว่าข้อปฏิบัติที่หนักและทำได้ยาก ) ไปปฏิบัติ 

       ดังนั้นภิกษุณีที่ทรงอุปสมบทให้องค์แรกได้แก่ พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี ซึ่งบวชเป็นภิกษุณีรูปแรกด้วยการรับครุธรรมแปดประการ ( ท่านเป็นรูปเดียวที่บวชด้วยวิธีเช่นนี้ ) 

       ต่อมาพระพุทธองค์ได้ทรงวางหลักเกณฑ์ในการรับผู้ประสงค์จะบวชเป็นภิกษุณี และวางวินัยของภิกษุณีไว้มากมาย เพื่อกลั่นกรองผู้ที่ประสงค์จะบวชและมีศรัทธาจริง ๆ เช่น ภิกษุณี เมื่อบวชแล้วต้องถือศีลถึง 311 ข้อ มากกว่าพระภิกษุ ซึ่งถือศีลเพียง 227 ข้อ ( วินัยของภิกษุณีที่มีมากกว่าพระภิกษุ เพราะผู้หญิงมีข้อปลีกย่อยในการดำรงชีวิตมากกว่าผู้ชาย เช่น ต้องมีผ้ารัดถัน ( ผ้ารัดอก ) ซึ่งผู้ชายไม่จำเป็นต้องมี เป็นต้น) 


การบวชเป็นภิกษุณีฝ่ายเถรวาท 

* * * การบวชเป็นสิกขมานา 

       ก่อนที่ผู้หญิงจะบวชเป็นภิกษุณีได้นั้น ต้องบวชเป็น "สิกขมานา" เสียก่อน สิกขมานาเป็นสามเณรีที่ต้องถือศีล 6 ข้ออย่างเคร่งครัดเป็นเวลา 2 ปี หากศีลขาดแม้แต่ข้อเดียวจะต้องเริ่มนับเวลาใหม่

       การบวชเป็นสิกขมานา จะบวชได้ต้องอายุครบ 18 ปี เพราะว่าคนที่จะบวชเป็นภิกษุณีได้นั้นต้องอายุครบ 20 แต่สำหรับหญิงที่แต่งงานแล้ว พระพุทธองค์อนุญาตให้บวชเป็นสิกขมานาได้ตั้งแต่อายุ 12 เพราะว่าคนที่แต่งงานจะได้เรียนรู้ความยากลำบากของชีวิต รู้จักสุข ทุกข์ เมื่อรู้จักทุกข์ก็จะรู้จักสมุทัย นิโรธ มรรค ได้ จนนำไปสู่การบรรลุในที่สุด 



* * * การบวชเป็นภิกษุณี 

       เมื่อผู้ที่ประสงค์จะบวชเป็นภิกษุณี ได้เป็นสิกขมานา ถือศีล 6 ข้อครบ 2 ปีแล้ว แล้วจึงมีสิทธิ์ที่จะเข้าพิธีอุปสมบท โดยต้องอุปสมบทในฝ่ายของ ภิกษุณีสงฆ์ ก่อน แล้วไปเข้าพิธีอุปสมบทในฝ่าย ภิกษุสงฆ์ อีกครั้งหนึ่งจึงจะเป็นภิกษุณีได้โดยสมบูรณ์ ( บวชในสงฆ์สองฝ่าย ) 


การสูญวงศ์ของภิกษุณีฝ่ายเถรวาท

       ก่อนที่ภิกษุณีสงฆ์จะหมดไปจากประเทศอินเดียนั้น พระเจ้าอโศกมหาราชทรงส่งพระธรรมทูตออกไป 9 สาย 1 ในนั้นคือ พระมหินทรเถระ ผู้เป็นพระราชโอรสของพระองค์เอง ในสายพระมหินทรเถระนี้ไปศรีลังกา การเผยแพร่ศาสนาพุทธประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง พระนางอนุลา น้องสะใภ้ของกษัตริย์ศรีลังกา ทรงอยากผนวช จึงนิมนต์ พระนางสังฆมิตตาเถรี พระธิดาของพระเจ้าอโศก มาเป็นปวัตตินีให้ ( "ปวัตตินี" คือพระอุปัชฌาย์ที่เป็นผู้หญิง ) 

       จากประเทศศรีลังกา ภิกษุณีสงฆ์ได้ไปสืบสายไว้ในจีน ไต้หวัน และอื่น ๆ อีกมาก จนกระทั่งพุทธศาสนาที่อินเดียและศรีลังกาเสื่อมลงลงไปในช่วงหลัง ทำให้ภิกษุณีฝ่ายเถรวาทซึ่งมีศีลและข้อปฏิบัติที่ยุ่งยากไม่สามารถรักษาวงศ์ของภิกษุณีเถรวาทไว้ได้ จึงทำให้ไม่มีผู้สืบทอดการบวชเป็นภิกษุณีสายเถรวาทในปัจจุบัน 


การพยายามรื้อฟื้นภิกษุณีสายเถรวาทในปัจจุบัน

       ในปัจจุบัน มีความเชื่อว่ายังมีภิกษุณีสายเถรวาทเหลืออยู่ และอ้างหลักฐานยืนยันว่าภิกษุณีทางสายมหายาน วัชรยานนั้นสืบสายไปจากภิกษุณีสายเถรวาท โดยถือกันว่าหากภิกษุณีสายเถรวาทสืบสายไปเป็นมหายานได้ ( ภิกษุณีจากลังกาไปบวชให้คนจีน ) ภิกษุณีมหายานก็สืบสายมาเป็นเถรวาทได้เช่นกัน  

       ในกรณีนี้เคยมีประเด็นถกเถียงอยู่ช่วงหนึ่งว่าปัจจุบันนี้สามารถบวชภิกษุณีได้หรือไม่ มีข้อสรุปจากทางพระสงฆ์ฝ่ายเถรวาทว่าพระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้มีการบวชเป็นภิกษุณีได้ก็ต่อเมื่อบวชต่อสงฆ์ทั้ง 2 ฝ่าย คือต้องบวชทั้งฝ่ายพระภิกษุสงฆ์ และฝ่ายภิกษุณีสงฆ์เป็นการลงญัตติจตุตถกรรมวาจาทั้งสองฝ่าย จึงจะสามารถเป็นภิกษุณีได้ ดังนั้นในเมื่อภิกษุณีสงฆ์เถรวาทได้เสื่อมสิ้นลงไม่มีผู้สืบต่อ จึงทำให้ในปัจจุบันไม่สามารถทำการบวชผู้หญิงเป็นภิกษุณีฝ่ายเถรวาทได้ การที่มีข้ออ้างว่าสายมหายานสืบสายวงศ์ภิกษุณีสงฆ์ไปก็ไม่สามารถอ้างได้ เพราะการสืบสายทางมหายานมีข้อวินัยและการทำสังฆกรรมบวชภิกษุณีที่ไม่ถูกต้องกับพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาท 

       ปัจจุบันศรีลังกาพยายามฟื้นฟูภิกษุณีสงฆ์ จนมีหลายร้อยรูป ที่เมืองไทยเองก็มีคนบวชเป็นภิกษุณีหลายรูปแล้วเช่นกัน แต่คณะสงฆ์ไทยไม่ยอมรับเป็นภิกษุณีสงฆ์เพราะสาเหตุดังกล่าวมาแล้วข้างต้น  


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - 

       สตรีที่ได้ความเชื่อความเลื่อมใสออกบวชเป็นภิกษุณี ได้บรรลุพระอรหัตต์ ซึ่งจัดเป็นสาวิกาผู้ใหญ่นั้นมีจำนวน 13 รูป 

       1. นางมหาปชาบดีโคตมี  

       2. นางเขมา

       3. นางอุบลวรรณา 

       4. นางปฏาจารา 

       5. นางธัมมทินนา 

       6. นางนันทา 

       7. นางโสภา 

       8. นางพกุลา 

       9. นางภัททา กุณฑลเกสี 

       10. นางภัททกาปิลานี 

       11. นางภัททากัจจานา 

       12. นางกิสาโคตรมี 

       13. นางสิคาลมาตา 



- จบ -

ภิกษุ

 

ภิกษุ 


       ภิกษุ หรือ พระภิกษุ ( บาลี: ภิกฺขุ; สันสกฤต: ภิกฺษุ ) เป็นคำใช้เรียก "นักบวชชาย" ในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ คู่กับภิกษุณี ( นักบวชหญิง ) คำว่า ภิกษุ เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา เป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชชายในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่สาธารณะทั่วไปสำหรับทุกศาสนา มีความหมายว่า ผู้ขอ ( ขออาหาร เป็นต้น ) และสามารถแปลว่า ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร ก็ได้ ดังรูปวิเคราะห์ว่า "วฏฺฏสํสาเร ภยํ อิกฺขตีติ ภิกฺขุ" 

       ในประเทศไทยและประเทศลาว มีคำเรียกภิกษุเถรวาทว่า "พระ" แปลว่าผู้ประเสริฐ เป็นคำที่เรียกกันมาแต่โบราณเพื่อเป็นการยกย่องนักบวชในพระพุทธศาสนา  


ประเภทของการบวชเป็นภิกษุ 

* * * เอหิภิกขุอุปสัมปทา 

       เป็นชื่อเรียกวิธีอุปสมบทเป็นภิกษุในสมัยพุทธกาลยุคต้นๆ โดยพระพุทธเจ้าประทานให้ด้วยพระองค์เอง ด้วยการตรัสว่า "เอหิภิกขุ...." ซึ่งแปลว่า "จงมาเป็นภิกษุเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่ดีที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด" 

       ตรัสเท่านี้ ก็เป็นภิกษุแล้ว เพราะคำตรัสขึ้นต้นว่า เอหิ ภิกขุ จึงเรียกการอุปสมบทแบบนี้ว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา เรียกผู้ได้รับการอุปสมบทว่า เอหิภิกขุ 

       การอุปสมบทแบบนี้ทรงประทานแก่พระอัญญาโกณฑัญญะเป็นท่านแรก จึงถือว่าท่านเป็นปฐมสาวกหรือเป็นปฐมภิกษุในพระพุทธศาสนา ต่อมาเมื่อมีผู้มาขอบวชมากขึ้นได้ทรงเลิกวิธีอุปสมบทแบบนี้ ทรงเปลี่ยนเป็นวิธีติสรณคมนูปสัมปทา และเป็นวิธีญัตติจตุตถกรรมวาจาซึ่งใช้มาจนถึงปัจจุบัน  


* * * ติสรณคมนูปสัมปทา  

       แปลว่า การอุปสมบทด้วยการเข้าถึงไตรสรณะ หมายถึงการบวชเป็นภิกษุโดยการรับไตรสรณคมน์ หมายถึงการอุปสมบทเป็นภิกษุแบบหนึ่งในพระพุทธศาสนา กล่าวคือในสมัยต้นพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงประทานอุปสมบทเองที่เรียกว่าเอหิภิกขุอุปสัมปทา ต่อมาทรงอนุญาตให้พระสาวกบวชกุลบุตรให้เป็นภิกษุได้โดยวิธีให้กุลบุตรนั้นรับไตรสรณคมน์เท่านั้น ซึ่งการบวชแบบนี้สำเร็จได้โดยบุคคล คือพระสาวกรูปใดรูปหนึ่งก็สามารถบวชกุลบุตรได้ ต่อมาภายหลังทรงอนุญาตวิธีการอุปสมบทโดยสงฆ์คือให้ทำเป็นสังฆกรรมที่เรียกว่าแบบญัตติจตุตถกรรมวาจา จึงเลิกวิธีบวชพระแบบ ติสรณคมนูปสัมปทา แต่ทรงอนุญาตให้ใช้วิธีนี้บวชสามเณร ซึ่งถือปฏิบัติกันมาตราบเท่าทุกวันนี้ 


ญัตติจตุตถกรรมวาจา 

       เป็นสังฆกรรม 1 ใน 4 อย่างของภิกษุสงฆ์ที่ทำร่วมกัน จัดเป็นสังฆกรรมที่มีน้ำหนักมากที่สุด หนักแน่นที่สุด ใช้ทำกรรมที่สำคัญมาก เช่น การให้อุปสมบท การให้ปริวาส ให้อัพภาน การสวดสมนุภาสน์ เป็นต้น 

       วิธีการ คือ จะมีการสวดญัตติขึ้นก่อน 1 ครั้ง และ สวดอนุสาวนา 3 ครั้ง เมื่อรวมกันจึงเรียกว่า ญัตติจตุตถกรรม แปลว่า กรรมมีญัตติเป็นที่ 4 , หมายความว่า กิจกรรมของสงฆ์ที่ทำร่วมกันโดยต้องทำการสวดญัตติขึ้นก่อน แล้วตามด้วยอนุสาวนาอีก 3 ครั้ง 

       ส่วนสาเหตุที่เรียกว่า ญัตติจตุตถกรรม ( กรรมมีญัตติเป็นที่ 4 ) ไม่เรียกว่า ญัตตฺยาทิกรรม ( กรรมมีญัตติเป็นเบื้องต้น ) เป็นต้น มีเพราะตรัสเป็นโวหารแบบปฏิโลม ( นับย้อนศร ) เหมือนคำว่า ผสฺสปญฺจมํ ( ธรรมมีผัสสะเป็นที่ 5 ) ในคัมภีร์ฝ่ายอภิธรรมนั่นเอง 



การบวชเป็นภิกษุเถรวาทในประเทศไทย 

       ผู้ที่จะเป็นภิกษุได้จะต้องมีคุณสมบัติและผ่านการพิธีอุปสมบทโดยถูกต้องตามพระธรรมวินัยก่อน เช่น ต้องมีอายุ 20 ปี ( เพราะตามธรรมเนียมสมัยนั้นถือว่าอายุ 7 - 19 ปีจัดเป็นวัยผู้น้อย ) และต้องมีส่วนสูง 150 ซม. ขึ้นไป ไม่มีโรคร้ายแรง ต้องมีอุปัชฌาย์รับรอง ต้องทำพิธีในอุโบสถ 



ศีล 227

       การเป็นพระภิกษุนั้นจะต้องถือศีลทั้งหมด 227 ข้อซึ่งเป็นข้อห้ามของพระภิกษุสงฆ์เถรวาทตามพระวินัยบัญญัติ จัดอยู่ในส่วนอาทิพรหมจาริยกาสิกขา 

       ศีล 227 จัดเป็นสิกขาบทในพระปาฏิโมกข์ ที่พระพุทธเจ้าทรงวางข้อกำหนดไม่พึงละเมิดไว้เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของคณะสงฆ์ และเพื่อเป็นข้อปฏิบัติพื้นฐานอันเอื้อเฟื้อต่อการประพฤติพรหมจรรย์ของพระภิกษุสงฆ์ หากมีพระภิกษุล่วงละเมิดซึ่งเรียกว่า อาบัติ จะต้องได้รับโทษตามสถานหนัก-เบา ถ้ามีโทษหนักก็ให้ปาราชิกหรือขาดจากความเป็นพระสงฆ์ หรือโทษเบาก็ให้แก้ได้โดยกล่าวแสดงความผิดของตนกับพระภิกษุรูปอื่นเพื่อเป็นการแสดงถึงความสำนึกผิดและเพื่อจะตั้งใจประพฤติตนใหม่ หรือที่เรียกว่า การแสดงอาบัติ , ปลงอาบัติ อาบัติต่างๆก็จะมีดังต่อไปนี้ 



- จบ -

สังฆราชี

 

สังฆราชี 


        สังฆราชี หมายถึง การขัดกันในคณะสงฆ์ การที่สงฆ์ไม่ลงรอยกัน เกิดการทะเลาะวิวาทกันจนเข้ากันไม่ได้ แต่ยังร่วมทำ อุโบสถกรรม /////  ด้วยกันอยู่ ไม่ถึงกับแตกแยกกันจนแยกไปทำอุโบสถกรรมต่างหากเหมือน สังฆเภท /////  

       สังฆราชี เกิดจากการที่สงฆ์มีวามคิดเห็นขัดแย้งกันบ้าง ไม่ลงรอยในเรื่องความประพฤติที่ไม่ตรงตามพระวินัยจนเป็นที่รังเกียจของผู้อื่นบ้าง ทะเลาะเบาะแว้งกันจนมองหน้าไม่ติดกันบ้าง  


- จบ -

อุโบสถกรรม

 

อุโบสถกรรม


       อุโบสถกรรม ( อ่านว่า อุ-โบ-สด-ถะ-กำ ) - การทำอุโบสถทุกวันขึ้น-แรม 14 หรือ 15 ค่ำ เป็นกิจวัตรของภิกษุ 

       ลงอุโบสถ , ลงโบสถ์ หมายถึงพระลงฟังการสวดปาติโมกข์ ทุก 15 วันตามพระวินัย  


- จบ -

สังฆเภทขันธกะ : พระเทวทัตจักเกิดในอบาย

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง สังฆเภทขันธกะ : พระเทวทัตจักเกิดในอบาย



พระเทวทัตจักเกิดในอบาย


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 401 )  


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวทัตมีจิตอัน อสัทธรรม /////  8 ประการครอบงำ ย่ำยีแล้ว จักเกิดในอบาย ตกนรกชั่วกัปช่วยเหลือไม่ได้ 

       อสัทธรรม 8 ประการเป็นไฉน คือ 

       1. เทวทัตมีจิตอันลาภครอบงำย่ำยีแล้ว จักเกิดในอบายตกนรก ตั้งอยู่ตลอดกัปช่วยเหลือไม่ได้ 

       2. เทวทัตมีจิตอันความเสื่อมลาภครอบงำย่ำยีแล้ว …

       3. เทวทัตมีจิตอันยศครอบงำย่ำยีแล้ว …

       4. เทวทัตมีจิตอันความเสื่อมยศครอบงำย่ำยีแล้ว … 

       5. เทวทัตมีจิตอันสักการะครอบงำย่ำยีแล้ว … 

       6. เทวทัตมีจิตอันความเสื่อมสักการะครอบงำย่ำยีแล้ว … 

       7. เทวทัตมีจิตอันความปรารถนาลามกครอบงำย่ำยีแล้ว … 

       8. เทวทัตมีจิตอันความเป็นมิตรชั่วครอบงำย่ำยีแล้วจักเกิดในอบาย ตกนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป ช่วยเหลือไม่ได้ 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวทัตมีจิตอันอสัทธรรม 8 ประการนี้แล ครอบงำย่ำยีแล้ว จักเกิดในอบาย ตกนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป ช่วยเหลือไม่ได้ 


       ดีละ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงครอบงำย่ำยีลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ 

       … ความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ 

       … ยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ 

       … ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ 

       … สักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ 

       … ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ 

       … ความปรารถนาลามกที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ 

       ภิกษุพึงครอบงำย่ำยี ความเป็นมิตรชั่วที่เกิดขึ้นแล้วอยู่


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร จึงครอบงำย่ำยีลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ 

       … ความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ 

       … ยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ 

       … ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ 

       … สักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ 

       … ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ 

       … ความปรารถนาลามกที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ 

       ภิกษุครอบงำย่ำยี ความเป็นมิตรชั่วที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อภิกษุนั้นไม่ครอบงำลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ อาสวะทั้งหลาย ที่ทำความคับแค้นและรุ่มร้อนพึงเกิดขึ้น

       เมื่อครอบงำย่ำยี ลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ อาสวะเหล่านั้นที่ทำความคับแค้นและรุ่มร้อนย่อมไม่มีแก่เธอ 

       ด้วยอาการอย่างนี้ก็เมื่อเธอไม่ครอบงำความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ … 

       … ยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ … 

       … ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ … 

       … สักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ … 

       … ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ … 

       … ความปรารถนาลามกที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ … 

       เมื่อเธอไม่ครอบงำความมีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ อาสวะทั้งหลายที่ทำความคับแค้นและรุ่มร้อน พึงเกิดขึ้น 

       เมื่อครอบงำย่ำยี ความมีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ อาสวะเหล่านั้นที่ทำความคับแค้นและรุ่มร้อน ย่อมไม่มีแก่เธอ ด้วยอาการอย่างนี้ 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล พึงครอบงำย่ำยีลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ 

       … ความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ … 

       … ยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ … 

       … ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ … 

       … สักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ … 

       … ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ … 

       … ความปรารถนาลามกที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ … 

       พึงครอบงำย่ำยี ความมีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ 


       เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงศึกษาว่า พวกเราจักครอบงำย่ำยีลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ 

       … ความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ 

       … ยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ 

       … ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ 

       … สักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ 

       … ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ 

       … ความปรารถนาลามกที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ 

       พวกเราจักครอบงำย่ำยี ความมีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้แล 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 402 )  


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวทัตมีจิตอันอสัทธรรม 3 ประการ ครอบงำย่ำยี จักเกิดในอบาย ตกนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป ช่วยเหลือไม่ได้

       อสัทธรรม 3 ประการ เป็นไฉน คือ 

       1. ความปรารถนาลามก 

       2. ความมีมิตรชั่ว 

       3. พอบรรลุคุณวิเศษเพียงขั้นต่ำ ก็เลิกเสียในระหว่าง 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวทัตมีจิตอันอสัทธรรม 3 ประการนี้แล ครอบงำย่ำยี จักเกิดในอบาย ตกนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป ช่วยเหลือไม่ได้ 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 3 : สังฆเภทขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : สังฆเภทขันธกะ : พระเทวทัตจักเกิดในอบาย 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 896 , 897 , 898
 


- จบ -

อสัทธรรม

 

อสัทธรรม 


       "อสัทธรรม" พระพุทธเจ้าทรงปรารภพระเทวทัต พระองค์ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ดี ภิกษุพึงพิจารณาเห็นวิบัติของตนและของผู้อื่น ตามกาลอันควร พิจารณาเห็นสมบัติของตนและของคนอื่น ตามกาลอันควร พระเทวทัตถูกอสัทธรรมครอบงำย่ำยีจิต ต้องไปเกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ 

       อสัทธรรม ได้แก่ ลาภครอบงำย่ำยีจิต , ความเสื่อมภาภครอบงำย่ำยีจิต , ยศครอบงำย่ำยีจิต , ความเสื่อมยศครอบงำย่ำยีจิต , สักการะครอบงำย่ำยีจิต , ความเสีื่อมสักการะครอบงำย่ำยีจิต , ความปรารถนาชั่วครอบงำย่ำยีจิต และความมีมิตรชั่วครอบงำย่ำยีจิต 

       หากอสัทธรรมเหล่านี้เข้าครอบงำย่ำยีจิต อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นพึงเกิดขึ้น 

       หากอสัทธรรมเหล่่านี้ไม่ครอบงำย่ำยีจิต ในหมู่มนุษย์ ( ผู้มีจิตใจสูงส่งเพราะประพฤติกุศลธรรม 10 อย่าง ) อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นย่อมไม่มีแก่เธอ

       บริษัท 4 โปรดเรียน จดจำ ทรงจำ ธรรมบรรยายนี้ เพราะประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ( ย่อความจากอุตตรวิปัตติสูตร หน้า 209 พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมจร.เล่ม 23 )    


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       [ เล่มที่ 37 ] พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม 4 หน้า 286 

       [ 84 ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัทธรรม 7 ประการนี้ 7ระการเป็นไฉน คือ 

       อสัตบุรุษเป็นผู้ไม่มีศรัทธา 1 

       ไม่มีหิริ 1 

       ไม่มีโอตตัปปะ 1 

       ไม่มีสุตะ ( ไม่สดับฟังพระธรรม ) 1 

       เป็นผู้เกียจคร้าน 1 

       มีสติหลงลืม 1 

       มีปัญญาทราม 1 


       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัทธรรม 7 ประการนี้แล 


       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัทธรรม 7 ประการนี้ 7 ประการนี้เป็นไฉน คือ

       สัตบุรุษเป็นผู้มีศรัทธา 1
 
       มีหิริ 1 

       มีโอตตัปปะ 1 

       เป็นพหูสูต 1 

       ปรารภความเพียร 1 

       มีสติ 1 

       มีปัญญา 1


       ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสัทธรรม 7 ประการนี้แล    


- จบ -