อัฑฒกุสิ-ผ้าอัฑฒกุสิ
อัฑฒกุสิ - เส้นคั่นดุจคันนาขวางระหว่างขันฑ์กับขันฑ์ของจีวร
- - - - - - - - - - - - - - - - - - -
องค์ประกอบของจีวร
จีวรผืนหนึ่งมีขัณฑ์ไม่น้อยกว่า 5 ขัณฑ์ เกินกว่านั้นใช้ได้แต่ต้องเป็น"ขัณฑ์ขอน(คี่)"ตามพระวินัย จีวรจะเป็นขัณฑ์ขอน อาทิเช่น 5 , 7 , 9 ส่วนใหญ่จะนิยม 9 ขัณฑ์ ในกรณีที่ผ้าหน้าแคบอาจจะทำขัณฑ์ให้เล็กลงเพื่อประหยัดผ้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
ในการตัดเย็บจีวรนี้เราจะใช้เฉพาะ มณฑลและอัฑฒมณฑลเท่านั้น ส่วนชื่อจำเพาะอื่นๆจะข้ามไปเพราะจะมีขนาดเหมือนกันแต่ต่างตรงตำแหน่งที่อยู่ของมณฑลต่างๆเหล่านั้นเท่านั้น
โดยมีผ้าที่เป็นส่วนชื่อเรียกดังนี้ ( ดูส่วนและเส้นต่างๆของจีวร )
1. อัฑฒมณฑล คีเวยยะ ( พันรอบคอ )
2. มณฑล วิวัฏฏะ
3. อัฑฒมณฑล วิวัฏฏะ
4. อัฑฒมณฑล อนุวิวัฏฏะ
5. มณฑล อนุวิวัฏฏะ
6. มณฑล ชังเฆยยะ
7. อัฑฒมณฑล ชังเฆยยะ ( ปกแข้ง )
8. อัฑฒมณฑล พาหันตะ ( ส่วนที่พันแขน )
9. กุสิ
10. อัฑฒกุสิ
11. อนุวาต
12. รังดุม , ลูกดุม ( ดูเพิ่มเติม )
จีวรนั้นโปรดให้ตัดอย่างคันนาชาวมคธ คือเป็นกระทงมีเส้นคั่น
- กระทงใหญ่ เรียกว่า" มณฑล "
- กระทงเล็ก เรียกว่า" อัฑฒมณฑล "
- เส้นคั่นในระหว่างมณฑลกับอัฑฒมณฑล ดุจคันนาขวาง เรียกว่า" อัฑฒกุสิ "
- รวมมณฑล อัฑฒมณฑล อัฑฒกุสิ เรียกว่า" ขัณฑ์ " ดูความหมายของคำว่า"ขัณฑ์"
- ในระหว่างขัณฑ์ มีเส้นคั่นดุจคันนายาว เรียกว่า" กุสิ "
ตรัสสรรเสริญท่านพระอานนท์
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานนท์เป็นคนฉลาด อานนท์ได้ซาบซึ้งถึงเนื้อความแห่งถ้อยคำที่เรากล่าวย่อได้โดยกว้างขวาง อานนท์ทำผ้ากุสิก็ได้ ทำผ้าชื่ออัฑฒกุสิก็ได้ ทำผ้าชื่อมณฑลก็ได้ ทำผ้าชื่ออัฑฒมณฑลก็ได้ ทำผ้าชื่อวิวัฏฏะก็ได้ ทำผ้าชื่ออนุวิวัฏฏะก็ได้ ทำผ้าชื่อคีเวยยกะก็ได้ ทำผ้าชื่อชังเฆยยกะก็ได้ และทำผ้าชื่อพาหันตะก็ได้จีวรจักเป็นผ้าที่ตัดแล้ว เศร้าหมองด้วยศัสตรา สมควรแก่สมณะ และพวกศัตรูไม่ต้องการ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าสังฆาฏิตัด ผ้าอุตราสงค์ตัด ผ้าอันตรวาสกตัด
- จบ -