คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า
เรื่อง เสนาสนะขันธกะ : ทรงอนุญาตสมมติภิกษุเป็นผู้แต่งตั้งเสนาสนะเป็นต้น
เรื่อง เสนาสนะขันธกะ : ทรงอนุญาตสมมติภิกษุเป็นผู้แต่งตั้งเสนาสนะเป็นต้น
ทรงอนุญาตสมมติภิกษุเป็นผู้แต่งตั้งเสนาสนะเป็นต้น
( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 329 )
สมัยนั้น สงฆ์ไม่มีภิกษุผู้แต่งตั้ง เสนาสนะ ///// … ไม่มีภิกษุผู้รักษาเรือนคลัง … ไม่มีภิกษุผู้รับจีวร … ไม่มีภิกษุผู้แจก ข้าวยาคู ///// … ไม่มีภิกษุผู้แจกผลไม้ … ไม่มีภิกษุผู้แจกของเคี้ยว ของเคี้ยวที่ยังมิได้แจกย่อมเสีย … รับสั่งว่า
534. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุที่ประกอบด้วยองค์ 5 เป็นผู้แจกของเคี้ยว คือ
1. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ
2. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง
3. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย
4. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว
5. รู้จักของเคี้ยวที่แจกแล้วและยังมิได้แจก
วิธีสมมติ
( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 330 )
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้
พึงขอร้องภิกษุก่อน
ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย ญัตติทุติยกรรมวาจา ///// ว่าดังนี้
* * * กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้วสงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็นผู้แจกของเคี้ยว
นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็นผู้แจกของเคี้ยว
การสมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็นผู้แจกของของเคี้ยวชอบแก่ท่านผู้ใดท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง
ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติเป็นผู้แจกของเคี้ยวแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้
( ในกรณีของภิกษุผู้แต่งตั้งเสนาสนะ , ภิกษุผู้รักษาเรือนคลัง , ภิกษุผู้รับจีวร , ภิกษุผู้แจกข้าวยาคู และภิกษุผู้แจกผลไม้ นักวินัยธรพึงเทียบเคียงจากภิกษุผู้แจกของเคี้ยว )
* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก / หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา / หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 ) / หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : เสนาสนะขันธกะ / หัวข้อย่อยรองลงมา : เสนาสนะขันธกะ : ทรงอนุญาตสมมติภิกษุเป็นผู้แต่งตั้งเสนาสนะเป็นต้น
* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย / หน้าที่ : 884
- จบ -