คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า
เรื่อง เสนาสนะขันธกะ : เรื่องช่างชุนเข็ญใจ
เรื่อง เสนาสนะขันธกะ : เรื่องช่างชุนเข็ญใจ
เรื่องช่างชุนเข็ญใจ
( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 259 )
ขณะนั้น ช่างชุนเข็ญใจคนหนึ่ง คิดว่าที่อันน้อยนี้จักไม่มีเหลือ โดยที่คนเหล่านี้ตั้งใจช่วยกันทำการก่อสร้าง ไฉนเราพึงช่วยทำการก่อสร้างบ้าง
จึงช่างชุนเข็ญใจนั้นขยำโคลนก่ออิฐตั้งฝากำแพงขึ้นเอง เขาไม่เข้าใจก่อ ฝากำแพงคด ได้พังลง
แม้ครั้งที่สอง … แม้ครั้งที่สาม ช่างชุนเข็ญใจนั้นลงมือขยำโคลน ก่ออิฐตั้งกำแพงเอง เขาไม่เข้าใจก่อ ฝากำแพงคด ได้พังลง
เขาจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ บอกสอนแต่เฉพาะพวกที่ถวายจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยของภิกษุอาพาธ และอำนวยการก่อสร้างแก่เขาเหล่านั้น ส่วนเราเป็นคนเข็ญใจ ไม่มีใครบอกสอนหรืออำนวยการ ก่อสร้างแก่เรา … รับสั่งว่า
438. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อำนวยการก่อสร้าง
439. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อำนวยการก่อสร้าง ต้องขวนขวายว่าทำไฉนหนอ วิหาร ///// จึงจะสำเร็จได้เร็ว ต้องซ่อมสิ่งที่หักพัง
440. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงให้อย่างนี้
พึงขอร้องภิกษุก่อน
ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้
* * * กรรมวาจาให้นวกรรม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้วสงฆ์พึงให้วิหารของคหบดีผู้มีชื่อนี้ เป็นนวกรรมของภิกษุมีชื่อนี้
นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
สงฆ์ให้วิหารของคหบดี ผู้มีชื่อนี้เป็นนวกรรมของภิกษุมีชื่อนี้
การให้วิหารของคหบดีผู้มีชื่อนี้ เป็นนวกรรมของภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง
ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
วิหารของคหบดีผู้มีชื่อนี้ สงฆ์ให้เป็นนวกรรมของภิกษุมีชื่อนี้แล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้
* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก / หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา / หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 ) / หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : เสนาสนะขันธกะ / หัวข้อย่อยรองลงมา : เสนาสนะขันธกะ : เรื่องช่างชุนเข็ญใจ
* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย / หน้าที่ : 865 , 866
- จบ -