Saturday, April 17, 2021

กระดองของบรรพชิต

 

พุทธวจน - คําสอนจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง กระดองของบรรพชิต

      ภิกษุทั้งหลาย!  เรื่องเคยมีมาแต่ก่อน เต่าตัวหนึ่งเที่ยวหากินตามริมลำธารในตอนเย็น สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่ง ก็เที่ยวหากินตามริมลำธารในตอนเย็นเช่นเดียวกัน

       เต่าตัวนี้ได้เห็นสุนัขจิ้งจอกซึ่งเที่ยวหากิน ( เดินเข้ามา ) แต่ไกล ครั้นแล้วจึง หด อวัยวะทั้งหลาย มีศีรษะเป็นที่ 5 เข้าในกระดองของตนเสีย เป็นผู้ขวนขวายน้อยนิ่งอยู่

       แม้สุนัขจิ้งจอกก็ได้เห็นเต่าตัวที่เที่ยวหากินนั้นแต่ไกลเหมือนกัน ครั้นแล้ว จึงเดินตรงเข้าไปที่เต่า คอยช่องอยู่ว่า “เมื่อไรหนอเต่าจักโผล่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งออกในบรรดาอวัยวะทั้งหลาย มีศีรษะเป็นที่ 5 แล้ว จักกัดอวัยวะส่วนนั้น คร่าเอาออกมากินเสีย” ดังนี้

       ภิกษุทั้งหลาย!  ตลอดเวลาที่เต่าไม่โผล่อวัยวะออกมา สุนัขจิ้งจอกก็ไม่ได้โอกาสต้องหลีกไปเอง

       ภิกษุทั้งหลาย!  ฉันใดก็ฉันนั้น มารผู้ใจบาป ก็คอยช่องต่อพวกเธอทั้งหลาย ติดต่อไม่ขาดระยะอยู่เหมือนกันว่า “ถ้าอย่างไร เราคงได้ช่อง ไม่ทางตาก็ทางหู หรือทางจมูก หรือทางลิ้น หรือทางกาย หรือทางใจ” ดังนี้

       ภิกษุทั้งหลาย!  เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลาย จงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอยู่เถิด

       ได้เห็นรูปด้วยตา ได้ฟังเสียงด้วยหู ได้ดมกลิ่นด้วยจมูก ได้ลิ้มรสด้วยลิ้น ได้สัมผัสโผฏฐัพพะด้วยกาย หรือได้รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว

       จงอย่าได้ถือเอาโดยลักษณะที่เป็นการรวบถือทั้งหมด

       อย่าได้ถือเอาโดยลักษณะที่เป็นการแยกถือเป็นส่วนๆ เลย

       สิ่งที่เป็นบาปอกุศล คือ อภิชฌา ( โลภอยากได้ของเขา ) และโทมนัส ( ความเป็นทุกข์ใจ ) จะพึงไหลไปตามบุคคลผู้ไม่สำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

       เพราะการไม่สำรวมอินทรีย์เหล่าใดเป็นเหตุ พวกเธอทั้งหลายจงปฏิบัติเพื่อการปิดกั้นอินทรีย์นั้นไว้

       พวกเธอทั้งหลายจงรักษาและถึงความสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เถิด

       ภิกษุทั้งหลาย!  ในกาลใด พวกเธอทั้งหลาย จักเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอยู่ ในกาลนั้น มารผู้ใจบาป จักไม่ได้ช่องแม้จากพวกเธอทั้งหลาย และจักต้องหลีกไปเอง เหมือนสุนัขจิ้งจอกไม่ได้ช่องจากเต่าก็หลีกไปเอง ฉะนั้น

       “เต่าหดอวัยวะไว้ในกระดอง ฉันใด

       ภิกษุ พึงตั้งมโนวิตก ( ความตริตรึกทางใจ ) 

       ไว้ในกระดอง ฉันนั้น

       เป็นผู้ที่ตัณหาและทิฏฐิไม่อิงอาศัยได้

       ไม่เบียดเบียนผู้อื่น 

       ไม่กล่าวร้ายต่อใครทั้งหมด

       เป็นผู้ดับสนิทแล้ว” ดังนี้แล 

* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) คัดมาจากหนังสือ พุทธวจน เรื่อง มรรควิธีที่ง่าย  /  หัวข้อใหญ่ : กายคตาสติ  /  หัวข้อย่อย : กระดองของบรรพชิต  /  หัวข้อเลขที่ : 8  /  -บาลี สฬา. สํ. 18/222-223/320-321.  /  หน้าที่ : 29 , 30 , 31  

* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) คัดมาจากหนังสือ พุทธวจน เรื่อง ปฐมธรรม  /  หัวข้อใหญ่ : การทำสมาธิและอานิสงส์ของการทำสมาธิ  /  หัวข้อย่อย : ให้ตั้งจิตในกายคตาสติ เสมือนเต่าหดอวัยวะไว้ในกระดอง  /  หัวข้อเลขที่ : 81  /  -บาลี สฬา. สํ. 18/222-223/320-321.  /  หน้าที่ : 218 , 219 , 220



The Simile of the Tortoise 


       “Bhikkhus, in the past a tortoise was searching for food along the bank of a river one evening. On that same evening a jackal was also searching for food along the bank of that same river. When the tortoise saw the jackal in the distance searching for food, it drew its limbs and neck inside its shell and passed the time keeping still and silent.

       “The jackal had also seen the tortoise in the distance searching for food, so he approached and waited close by, thinking, “When this tortoise extends one or another of its limbs or its neck, I will grab it right on the spot, pull it out, and eat it. But because the tortoise did not extend any of its limbs or its neck, the jackal, failing to gain access to it, lost interest in it and departed.

       “So too, bhikkhus, Māra the Evil One is constantly and continually waiting close by you, thinking, *Perhaps I will gain access to him through the eye or through the ear or through the nose or through the tongue or through the body or through the mind! 

       Therefore, bhikkhus, dwell guarding the doors of the sense faculties. Having seen a form with the eye, do not grasp its signs and features. Since, if you leave the eye faculty unguarded, evil unwholesome states of covetousness and displeasure might invade you, practise the way of its restraint, guard the eye faculty, undertake the restraint of the eye faculty. Having heard a sound with the ear... Having smelt an odour with the nose... Having savoured a taste with the tongue...Having felt a tactile object with the body...Having cognized a mental phenomenon with the mind, do not grasp its signs and features. Since, if you leave the eye faculty, ear faculty, nose faculty, tongue faculty, body faculty, and mind faculty unguarded, evil unwholesome states of covetousness and displeasure might invade you, practise the way of its restraint, guard the sense faculties, undertake the restraint of the eye faculty, ear faculty, nose faculty, tongue faculty, body faculty, and mind faculty.

       “When, bhikkhus, you dwell guarding the doors of the sense faculties, Māra the Evil One, failing to gain access to you, will lose interest in you and depart, just as the jackal departed from the tortoise." 


       Drawing in the mind's thoughts As a tortoise draws its limbs into its shell, Independent, not harassing others, fully quenched,A bhikkhu would not blame anyone. 


* * * Bhikkhu Bodhi (trans.) (2000). The Connected Discourses of the Buddha: A Translation of the Samyutta Nikäva. Boston: Wisdom Publications. ISBN 978-0-86171-331-8 


-
 จบ -