Sunday, April 11, 2021

วาจาของสัตบุรุษ

 

พุทธวจน - คําสอนจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง วาจาของ สัตบุรุษ 

       ภิกษุทั้งหลาย!  บุคคลประกอบด้วยธรรม 4 ประการ เป็นที่รู้กันว่าเป็น สัตบุรุษ

       4 ประการ อย่างไรเล่า ? 4 ประการ คือ

       ( 1 ) ภิกษุทั้งหลาย!  สัตบุรุษในกรณีนี้ แม้มีใครถามถึงความไม่ดีของบุคคลอื่น ก็ไม่เปิดเผยให้ปรากฏ

       จะกล่าวทำไมถึงเมื่อไม่ถูกใครถาม

       ก็เมื่อถูกใครถามถึงความไม่ดีของบุคคลอื่น ก็นำเอาปัญหาไปทำให้หลีกเลี้ยวลดหย่อนลง กล่าวความไม่ดีของผู้อื่นอย่าง
ไม่พิสดารเต็มที่

       ภิกษุทั้งหลาย!  ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่าคนคนนี้ เป็น สัตบุรุษ 

       ( 2 ) ภิกษุทั้งหลาย!  สัตบุรุษอย่างอื่นยังมีอีก

       คือ แม้ไม่ถูกใครถามอยู่ถึงความดีของบุคคลอื่น ก็ยังนำมาเปิดเผยให้ปรากฏ

       จะต้องกล่าวทำไมถึงเมื่อถูกใครถาม

       ก็เมื่อถูกใครถามถึงความดีของบุคคลอื่น ก็นำเอาปัญหาไปทำให้ไม่หลีกเลี้ยวลดหย่อน กล่าวความดีของผู้อื่นโดยพิสดารบริบูรณ์

       ภิกษุทั้งหลาย!  ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น สัตบุรุษ

       ( 3 ) ภิกษุทั้งหลาย!  สัตบุรุษอย่างอื่นยังมีอีก

       คือ แม้ไม่มีใครถามถึงความไม่ดีของตน ก็ยังนำมาเปิดเผย ทำให้ปรากฏ

       ทำไมจะต้องกล่าวถึงเมื่อถูกถามเล่า

       ก็เมื่อถูกใครถามถึงความไม่ดีของตน ก็ไม่นำเอาปัญหาไปหาทางทำให้ลดหย่อนบิดพลิ้ว แต่กล่าวความไม่ดีของตนโดยพิสดารเต็มที่

       ภิกษุทั้งหลาย!  ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น สัตบุรุษ

       ( 4 ) ภิกษุทั้งหลาย!  สัตบุรุษอย่างอื่นยังมีอีก

       คือ แม้มีใครถามถึงความดีของตน ก็ไม่เปิดเผยให้ปรากฏ

       ทำไมจะต้องกล่าวถึงเมื่อไม่ถูกใครถามเล่า

       ก็เมื่อถูกใครถามถึงความดีของตน ก็นำเอาปัญหาไปกระทำให้ลดหย่อนหลีกเลี้ยวเสีย กล่าวความดีของตนโดยไม่พิสดารเต็มที่

       ภิกษุทั้งหลาย!  ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น สัตบุรุษ
 
       ภิกษุทั้งหลาย!  บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการเหล่านี้แล เป็นที่รู้กันว่าเป็น สัตบุรุษ

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -     

       แม้มีใครถามถึงความไม่ดีของบุคคลอื่น 

       ก็ไม่เปิดเผยให้ปรากฏ

       จะกล่าวทําไมถึงเมื่อไม่ถูกใครถาม

       ก็เมื่อถูกใครถามถึงความไม่ดีของบุคคลอื่น

       ก็นําเอาปัญหาไปทําให้หลีกเลี้ยวลดหย่อนลง 

       กล่าวความไม่ดีของผู้อื่นอย่างไม่พิสดารเต็มที่ 

       ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น สัตบุรุษ


-บาลี จตุกฺก. อํ. 21/100/73. 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) คัดมาจากหนังสือ พุทธวจน เรื่อง ฆราวาสชั้นเลิศ  /  หัวข้อใหญ่ : ฆราวาสชั้นเลิศ  /  หัวข้อย่อย : วาจาของ สัตบุรุษ  /  หัวข้อเลขที่ : 13  /  -บาลี จตุกฺก. อํ. 21/100/73.  /  หน้าที่ : 60 , 61 , 62  

* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) คัดมาจากหนังสือ พุทธวจน เรื่อง ปฐมธรรม  /  หัวข้อใหญ่ : ธรรมะกับชีวิต  /  หัวข้อย่อย : ลักษณะการพูดของสัตบุรุษ  /  หัวข้อเลขที่ : 16  /  -บาลี จตุกฺก. อํ. 21/100/73.  /  หน้าที่ : 53 , 54

- END -